‘ทรัพย์อิงสิทธิ’ สินทรัพย์ชนิดใหม่ ซื้อง่ายขายคล่อง จะเปลี่ยนมือหรือทำอะไรก็ได้ !!
หนึ่งในปัญหาที่นักลงทุนอาจได้พบเจอ คือ การที่มีอสังหาริมทรัพย์อยู่ในครอบครอง แล้วไม่สามารถปล่อยเช่าหรือทำกำไรได้อย่างที่ตั้งใจเอาไว้ อาจจะด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือข้อกำหนดต่าง ๆ ที่อาจไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร ซึ่งเดิมทีประเทศของเราก็มีข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หลากหลายข้อ แต่อาจยังไม่ก่อให้เกิดสภาพคล่องแก่นักลงทุนเท่าที่ควร เหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของพระราชบัญญัติ 'ทรัพย์อิงสิทธิ' หากเราพูดถึงสิทธิในการถือครองด้านอสังหาริมทรัพย์ เราอาจเคยได้ยินวิธีการหลากหลายรูปแบบที่ สามารถสร้างรายได้หรือมีสิทธิ์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ได้ เราจะเรียกว่า 'ทรัพยสิทธิ' อย่างที่คนทั่วไปอาจรู้จักกัน ประกอบด้วย กรรมสิทธิ : สิทธิในการถือครองหรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น ๆ สิทธิครอบครอง : สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินนั้น ๆ ไว้ แม้จะไม่มีกรรมสิทธิในทรัพย์สินนั้น ๆ เช่น ผู้ที่เช่าบ้านอยู่ ย่อมมีสิทธิครอบครองในบ้าน แม้กรรมสิทธิจะอยู่ที่เจ้าของบ้านตัวจริงก็ตาม ภาระจำยอม : ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์
แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงรู้ไว้ไม่เสียเปรียบ
แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงรู้ไว้ไม่เสียเปรียบ ในวงการอสังหาฯ มีที่ดินหลากหลายแบบในหลากหลายพื้นที่ที่น่าสนใจต่อการลงทุน และสามารถสร้างเม็ดเงินกำไรให้กับผู้ถือครองได้ไม่น้อย โดยปกติแล้วเรามักคุ้นเคยกันว่าเมื่อเวลาผ่านไปที่ดินส่วนใหญ่จะมีมูลค่าสูงขึ้น แต่เชื่อไหมว่านอกจากที่ดินที่ให้มูลค่าสูงตามกาลเวลาแล้ว ยังมีที่ดินประเภทที่เมื่อถือครองแล้วมีโอกาสขาดทุนหรือได้กำไรเพียงน้อยนิด หนึ่งในนั้น คือ ‘แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูง’ วันนี้สาระอสังหาจะมาอธิบายถึงข้อห้ามต่าง ๆ ในพื้นที่แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูง รวมถึงสิ่งที่สามารถทำได้ในพื้นที่ดังกล่าว เบื้องต้นเราต้องทำความเข้าใจถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ถูกเขียนไว้ในพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 ได้ประกาศไว้ดังนี้ 1. ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอันตรายแก่ระบบไฟฟ้า เช่น ห้ามนำวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรกล เช่น รถเครน รถยก รถตัก รถขุด เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงน้อยกว่า 4 เมตร หรือ ห้ามเผาไร้อ้อย นาข้าว ป่าพง หรือวัสดุอื่นใดในเขตแนวเดินสายไฟฟ้า
ถ้าให้ชาวต่างชาติซื้ออสังหาในไทยได้ คนไทยจะได้อะไร ?
ในปัจจุบัน การเปิดประตูให้กับชาวต่างชาติเข้ามาซื้ออสังหาในประเทศไทย อาจเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการสร้างโอกาสให้แก่ประเทศ เพียงแต่ว่ายังคงเป็นประเด็นไม่น้อยสำหรับการที่จะให้ชาวต่างชาติเข้ามาซื้อที่ดินหรืออสังหาในไทยว่า เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจริง ๆ ใช่ไหม หรือเป็นการ “ขายชาติ” หรือเปล่า วันนี้ สาระอสังหา จะลองมาวิเคราะห์ประเด็นนี้ให้ทุกคนได้รู้ไปพร้อม ๆ กัน ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ปัจจุบันนี้ชาวต่างชาติสามารถซื้ออสังหาในประเทศในไทยได้ โดยชาวต่างชาติที่สามารถเข้ามาซื้อบ้านในไทยได้ จะต้องเป็นชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง และเป็นผู้ที่พำนักอาศัยในไทยระยะยาว โดยแยกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ชาวต่างชาติที่มีความมั่นคงสูง ชาวต่างชาติที่เกษียณอายุ ชาวต่างชาติที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย ชาวต่างชาติที่มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ สามารถพำนักและทำงานในประเทศไทย ข้อกำหนดสำหรับชาวต่างชาติสำหรับซื้อบ้านและที่ดินในไทย ชาวต่างชาติสามารถถือครองที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่ ต่างชาติสามารถซื้อที่ดินกับผู้ขายที่มีชื่ออยู่ในเอกสารแสดงสิทธิ์เท่านั้น หากมีการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ผู้ขายจำเป็นต้องมีเอกสารหลักฐานการเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างนั้นด้วย
หลักหมุดที่ดินคืออะไร หลักหมุดหาย ถูกเคลื่อนย้าย แก้ปัญหาอย่างไร?
เมื่อทำการรังวัดที่ดิน แล้วพบว่าหลักหมุดหายหรือถูกเคลื่อนย้าย หลักหมุดไม่ตรงกันกับแนวเขตที่ระบุบนโฉนดที่ดิน แบบนี้ต้องแจ้งใคร ดำเนินการอย่างไร?
ขอใช้ทางจำเป็นในที่ดินตาบอด เจรจาไม่ได้ จะยื่นฟ้องเปิดทางอย่างไร?
กรณีมีที่ดินอยู่แต่ไม่มีทางเข้า-ออก ในขณะเดียวกันการเจรจาขอใช้ทางกับที่ดินแปลงข้าง ๆ ก็ไม่เป็นผล วิธีเดียวที่สามารถเปิดทางเข้า-ออกในที่ของตนเองได้ก็คงจะเป็นการฟ้อง หรือเรียกว่าการฟ้องเปิดทาง ซึ่งการฟ้องเปิดทางที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ทางจำเป็น ทางภาระจำยอม และทางสาธารณะประโยชน์ ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อกฎหมายอ้างอิงที่แตกต่างกัน ครั้งนี้สาระอสังหา นำกฎหมาย ‘ทางจำเป็น’ อธิบายตัวอย่างการขอใช้ทางจำเป็น พร้อมลิสต์เอกสารที่ใช้ในกรณียื่นฟ้อง ทางจำเป็น คืออะไร ทางจำเป็น เกิดจากกฎหมายที่ต้องการให้ที่ดินทุกแปลงในประเทศไทยมีทางเข้า-ออก ด้วยเหตุผลที่ว่า การมีที่ดินอยู่แต่กลับไม่มีทางเข้า-ออก ก็ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ นอกจากไม่เกิดประโยชน์กับเจ้าของที่ดินแล้ว ยังกระทบกับการพัฒนาประเทศโดยรรวมอีกด้วย กฎหมายได้วางหลักไว้ว่าที่ดินทุกแปลงในประเทศไทยต้องมีทางเข้า-ออก ถ้าที่ดินแปลงไหนถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบจนไม่มีทางเข้า-ออก ก็สามารถใช้ที่ดินแปลงที่ใกล้เคียงที่สุดเป็นทางผ่านเข้า-ออกถนนสาธารณะ (สร้างความเสียหายน้อยที่สุด) โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ ทางจำเป็นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทางจำเป็นโดยสภาพ หรือที่ดินไม่มีทางเข้า-ออกมาตั้งแต่แรก (มาตรา 1349) ที่ดินที่มีทางเข้า-ออกอยู่แล้ว แต่ถูกแบ่งแยก แบ่งโอน แบ่งขาย จนทำให้ไม่มีทางเข้า-ออก
ที่ดินตาบอดคืออะไร ขอใช้ทางผ่านเข้าออกที่ดินข้าง ๆ ต้องทำอย่างไร?
เหตุผลการได้มาซึ่งที่ดินของแต่ละคนแตกต่างกัน บ้างมาจากการซื้อขาย บ้างเป็นที่ดินมรดก ที่ดินไม่มีทางเข้า - ออกสู่ถนนสาธารณะ 'ที่ดินตาบอด' ทำให้หลายคนที่เป็นเจ้าของที่ดินต้องเกิดความหนักใจ เพราะการขายทิ้งอาจไม่ได้ทางออกที่ดีเสมอไป
“SmartLands” รวมงานบริการจากกรมที่ดิน ใช้งานง่ายผ่านแอปฯ บนมือถือ
Application SmartLand เครื่องมือทันสมัยที่เข้ามาอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการซื้อ-ขายที่ดิน รับมรดก ฯลฯ หากกลัวว่าต้องไปรอคิวหรือไปเช้าแต่ต้องรอนานทั้งวัน การจองคิวล่วงหน้าเพื่อใช้บริการก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
วิธีแก้ปัญหาเมื่อรู้ว่าโฉนดที่ดินหาย ต้องแจ้งความไหม?
กรณีโฉนดที่ดินหาย เช่น หาไม่เจอ ถูกขโมย เกิดอุบัติภัยทำให้โฉนดที่ดินถูกทำลายหรือโฉนดที่ดินชำรุดจนไม่สามารถยืนยันข้อมูลได้ การแจ้งเรื่องขอโฉนดที่ดินใบใหม่ ‘ใบแทน’ สามารถใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน อ่านวิธีการขอโฉนดใหม่
ค้นหารูปแปลงที่ดิน วิธีหาพิกัดที่ดินจากเลขที่โฉนด ปี 2566
วิธีการค้นหาพิกัดจากเลขที่โฉนดก่อนจะซื้อขายที่ดิน ทำสัญญาหรือเซ็นเอกสารสิทธิต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนโกง ตรวจสอบด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์กรมที่ดินและแอปพลิเคชันจากกรมที่ดิน
หลักเกณฑ์สำคัญพ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน 2543 แบ่งกี่แปลงถึงเข้าข่ายจัดสรรที่ดิน?
การแบ่งแปลงที่ดินเพื่อขายมีกฎหมายพ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เข้ามาอ้างอิง ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีสิทธิแบ่งขายได้กี่แปลง แล้วมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแบ่งแปลงที่ดินเพื่อขายหรือไม่ จำเป็นต้องขออนุญาตใคร