เผยกลเม็ด! การเลี่ยงภาษีเพื่อขายที่ดินแบบถูกกฎหมาย
เผยกลเม็ด! การเลี่ยงภาษีเพื่อขายที่ดินแบบถูกกฎหมาย “มีสองสิ่งที่คนเราไม่สามารถหนีพ้นได้ คือ ความตาย และภาษี” เป็นหนึ่งในคำกล่าวที่สื่อถึงวงจรชีวิตของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี เพราะไม่มีใครหนีพ้นความตายได้ แล้วการเสียภาษีเป็นสิ่งที่พลเมืองทุกคนต้องทำเมื่อมีอายุหรือรายได้เข้าเกณฑ์ตามแต่กฎหมายของแต่ละที่กำหนดไว้ แต่รู้หรือไม่ว่าการขายอสังหาริมทรัพย์มีวิธีที่สามารถเลี่ยงภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับบุคคลธรรมดาได้ แต่ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับภาษีธุรกิจเฉพาะก่อน ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างที่ไม่สามารถคำนวณหรือจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการได้ โดยกิจการประเภทอสังหาริมทรัพย์เองก็นับเป็นธุกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วยเช่นกัน ซึ่งมีเกณฑ์การเสียรวมถึงการยกเว้นภาษี ดังนี้ การขายอสังหาริมทรัพย์ทางการค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถือว่าเป็นทางการค้าหรือหากำไรตามพระราชกฤษฎีกาฯ ได้แก่การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังต่อไปนี้ จากเกณฑ์ข้างต้นพบว่าหากทำการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาสามารถขายได้ 5 ปีหลังจากได้มา หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี จะได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะทันที และถ้าหากทุกท่านชื่นชอบบทความแบบนี้ สาระอสังหายังมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับการเงิน-การลงทุน รวมถึงที่ดินและอสังหาฯ
แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงรู้ไว้ไม่เสียเปรียบ
แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงรู้ไว้ไม่เสียเปรียบ ในวงการอสังหาฯ มีที่ดินหลากหลายแบบในหลากหลายพื้นที่ที่น่าสนใจต่อการลงทุน และสามารถสร้างเม็ดเงินกำไรให้กับผู้ถือครองได้ไม่น้อย โดยปกติแล้วเรามักคุ้นเคยกันว่าเมื่อเวลาผ่านไปที่ดินส่วนใหญ่จะมีมูลค่าสูงขึ้น แต่เชื่อไหมว่านอกจากที่ดินที่ให้มูลค่าสูงตามกาลเวลาแล้ว ยังมีที่ดินประเภทที่เมื่อถือครองแล้วมีโอกาสขาดทุนหรือได้กำไรเพียงน้อยนิด หนึ่งในนั้น คือ ‘แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูง’ วันนี้สาระอสังหาจะมาอธิบายถึงข้อห้ามต่าง ๆ ในพื้นที่แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูง รวมถึงสิ่งที่สามารถทำได้ในพื้นที่ดังกล่าว เบื้องต้นเราต้องทำความเข้าใจถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ถูกเขียนไว้ในพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 ได้ประกาศไว้ดังนี้ 1. ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอันตรายแก่ระบบไฟฟ้า เช่น ห้ามนำวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรกล เช่น รถเครน รถยก รถตัก รถขุด เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงน้อยกว่า 4 เมตร หรือ ห้ามเผาไร้อ้อย นาข้าว ป่าพง หรือวัสดุอื่นใดในเขตแนวเดินสายไฟฟ้า
“กฏหมายบันไดหนีไฟ” ใครอยู่คอนโดควรต้องรู้
การอยู่คอนโดมิเนียมเป็นอีกหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของคนสมัยใหม่ที่มักจะเลือกเป็นที่อยู่อาศัยแทนการอยู่บ้าน ด้วยความสะดวกในการเดินทางหรือความเป็นส่วนตัวกว่าการอยู่บ้านร่วมกันหลาย ๆ คน ยิ่งในปัจจุบันมีโครงการคอนโดสร้างใหม่ใจกลางเมืองเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ก็ยิ่งทำให้มีผู้เข้าพักอาศัยในคอนโดมากขึ้นเช่นกัน แต่หนึ่งสิ่งที่หลาย ๆ ท่านอาจละเลยหรือไม่ทราบ นั่นก็คือเรื่องความปลอดภัยอย่าง ‘บันไดหนีไฟในคอนโด’ เพราะหากเกิดอัคคีภัยหรือเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความอันตรายของผู้พักอาศัยในคอนโด บันไดหนีไฟเปรียบเสมือนทางรอดในเหตุการณ์นั้น ๆ วันนี้ สาระอสังหา จะมาแนะนำความรู้บันไดหนีไฟและกฎหมายบันไดหนีไฟที่น่าสนใจแก่ทุก ๆ คนกัน ลักษณะของบันไดหนีไฟที่ถูกต้อง ตามกฎหมายกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. อาคารที่สูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไปแต่ไม่เกิน 23 เมตร หรืออาคารสูง 3 ชั้นและมีดาดฟ้าที่มีพื้นที่เกิน 16 ตารางเมตร ต้องมีบันไดหนีไฟที่ทำด้วยวัสดุทนไฟอย่างน้อย 1
รวมข้อควรรู้การวางแผนภาษีล่วงหน้า วางแผนดีมีเงินคืน
โดยปกติก็ไม่มีใครที่อยากเสียภาษีเยอะเกินความจำเป็นจนกระทบความมั่นคงของรายได้ ดังนั้น การวางแผนภาษีและทำความรู้จักเงินที่เราต้องจ่ายออกไปในทุก ๆ ปี จึงเป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรทำความเข้าใจ
หลักเกณฑ์สำคัญพ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน 2543 แบ่งกี่แปลงถึงเข้าข่ายจัดสรรที่ดิน?
การแบ่งแปลงที่ดินเพื่อขายมีกฎหมายพ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เข้ามาอ้างอิง ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีสิทธิแบ่งขายได้กี่แปลง แล้วมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแบ่งแปลงที่ดินเพื่อขายหรือไม่ จำเป็นต้องขออนุญาตใคร
นิติบุคคล คือใคร ทำไมหมู่บ้านจัดสรรต้องมีการจัดตั้งนิติ !
การเปลี่ยนถ่ายอำนาจจากเจ้าของโครงการบ้านจัดสรร สู่กระบวนการที่ให้ลูกบ้านบริหารจัดการกันเอง หรือภายใต้คำนิยาม ‘นิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรร’ มีกระบวนการขั้นตอนอย่างไร มีข้อกฎหมายใดในการดำเนินการ
ข้อกำหนดกฎหมายตึกแถว ห้องแถว บ้านแถว มีอะไรบ้าง?
เจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ลงทุนที่ต้องการสร้างห้องแถวหรือตึกแถว จำเป็นต้องดำเนินการโดยอ้างอิงตามฎกระทรวงฉบับที่ 55 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2543 เกี่ยวกับขนาดความกว้างของตึกและระยะร่นอาคาร เพราะความไม่รู้อาจเป็นสาเหตุให้เจ้าของตึกต้องเสียเวลาแก้ไข
ขายฝาก คืออะไร อ่านเงื่อนไขและข้อกำหนดก่อนทำสัญญา
ในกรณีที่ต้องการใช้เงินด่วน แต่ไม่อยากนำทรัพย์ไปขายขาด สำหรับใครที่มีที่ดิน บ้าน “การขายฝาก” เป็นทางเลือกที่ดี ข้อกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในแง่ของกฎหมาย สิทธิ์การใช้ประโยชน์บนทรัพย์
น้ำท่วมที่จอดรถใต้คอนโด ‘นิติบุคคล’ กับ ‘เจ้าของรถ’ ใครต้องรับผิดชอบ?
น้ำท่วมที่จอดรถใต้คอนโด ลูกบ้านจอดรถอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยใต้คอนโด หากเกิดภัยทางธรรมชาติในลักษณะนี้ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบรถยนต์ นิติบุคคลต้องดำเนินการอย่างไร
รายการลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง เตรียมความพร้อมก่อนยื่นแบบ
ใกล้หมดปีแบบนี้ สาระอสังหา ทำลีสต์รายการลดหย่อนภาษี 2565 เพื่อให้ทั้งมือใหม่และผู้ที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี ผู้มีหน้าที่ต้องยื่น “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา”