top

รอบรู้เรื่องอสังหาฯ

รอบรู้เรื่องอสังหาฯ รอบรู้เรื่องบ้าน รวมปัญหาเพื่อนบ้านที่เจอบ่อย พร้อมวิธีรับมือแก้ปัญหาด้วยกฎหมาย
ปัญหาเพื่อนบ้านยอดฮิต

ปัญหาเพื่อนบ้านถือเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถพบเจอได้ชีวิตประจำวัน และในขณะเดียวกันก็เห็นกันได้บ่อย ๆ ตามกระแสข่าวต่าง ๆ แน่นอนว่าคนเราต่างมีวิธีคิดและนิสัยใจคอแต่งต่างกัน จึงมีข้อกฎหมายที่เปรียบเสมือนตัวกลางเข้ามาสร้างบรรทัดฐานทางสังคมและการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยทั่วไปที่มักจะมีปัญหาระหว่างกันอยู่บ่อยครั้งก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่อง การส่งเสียงดัง จอดรถหน้าบ้าน ต้นไม้ข้างบ้านรุกล้ำ สัตว์เลี้ยงรบกวน อ่านข้อปฏิบัติที่ถูกต้องและทำความเข้าใจกฎหมายไปพร้อมกัน

ปัญหาเพื่อนบ้านรับมืออย่างไร

1.ปัญหาต้นไม้บ้านข้าง ๆ รุกล้ำ

ปัญหาต้นไม้ข้างบ้านรุกล้ำ

โดยปกติต้นไม้จะเจริญเติบโตตามธรรมชาติ แต่เมื่อเจอปัญหาลักษณะนี้ขึ้น สิ่งที่ควรทำอันดับแรก คือ การแจ้งให้เพื่อนบ้านทราบก่อน อยู่ ๆ จะไปตัดต้นไม้ของผู้อื่นทันทีเลยไม่ได้ เพราะต้นไม้ทุกต้นมีราคา มูลค่าในตัว การตัดต้นไม้ในกรณีไม่มีการแจ้งความเดือดร้อนให้ทราบ จะเกิดความผิดฐานทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ ไม่ว่าแจ้งไปแล้วเพื่อนบ้านจะตัดหรือไม่ก็จำเป็นต้องแจ้งก่อน หากเพิกเฉยจึงจะสามารถตัดด้วยตัวเองได้

  • ดอกหรือผล ยื่นเข้ามาในบ้าน การตัดหรือเด็ดจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่กรณีร่วงอยู่บนพื้นสามารถหยิบมากินได้เ ถือเป็นการตกหรือหล่นโดยธรรมชาติ
  • รางน้ำ ใบไม้อุดท่อระบายน้ำ ทำให้น้ำกระเด็นเข้ามาฝั่งบ้าน สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

2.ปัญหาสัตว์เลี้ยงเพื่อนบ้าน

ปัญหาสัตว์เลี้ยงเพื่อนบ้าน

กรณีเพื่อนบ้านมีสัตว์เลี้ยง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบทุก ๆ เรื่อง กลิ่นที่เกิดจากการเลี้ยงสุนัขหรือแมวตามกฎหมาย พ.ร.บ.สาธารณสุขรักษาความสะอาด ผู้เลี้ยงต้องดูแลไม่ให้สัตว์อึ ถ่าย ไม่เป็นที่จนสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่ (โทษปรับ 500 บาท) เพื่อนบ้านสามารถแจ้งตำรวจได้ แต่บ้านใกล้เรือนเคียงกันหากคุยกันได้ควรคุยกันก่อน

การปล่อยสัตว์ออกจากบ้าน แล้วสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่น ข่วนหรือตะกุยรถ เจ้าของสัตว์ต้องรับผิดชอบค่าทำสีให้เพื่อนบ้านผู้เสียหาย จะเห็นว่าการติดกล้องวงจรปิดสำคัญมาก สามารถใช้เป็นหลักฐานชี้แจงได้ว่ารอยขีด ข่วน เกิดจากน้องแมว น้องหมาตัวไหน เจ้าของสัตว์เป็นเพื่อนบ้านหลังไหน

3.ปัญหาเพื่อนบ้านส่งเสียงดังรบกวน

ปัญหาเพื่อนบ้านส่งเสียงดังรบกวน

เพื่อนบ้านกินเลี้ยงสังสรรค์แล้วส่งเสียงดังยามวิกาล หันลำโพงออกมานอกตัวบ้าน หากบ้านข้าง ๆ มีเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือไม่ว่าสมาชิกจะอยู่ในช่วงอายุไหน หากได้รับความเดือดร้อนหนัก ๆ ก็สามารถแจ้งความหรือฟ้องร้องให้เป็นคดีแพ่ง ให้ออกคำสั่งห้ามกระทำได้ เช่น ถ่ายคลิปวิดีโอเป็นหลักฐานฟ้องร้องคดีแพ่ง จะได้รับค่าเสียหายในกรณีที่การเสียงดังทำให้เกิดความเครียดหรือเจ็บป่วย (มีใบรับรองแพทย์) แต่ต้องสืบสาเหตุได้ว่าการป่วยเกิดจากเสียงรบกวนของเพื่อนบ้าน

4.พบเห็นปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัว

เพื่อนบ้านทะเลาะกันภายในครอบครัว

พบเห็นเพื่อนบ้านมีปากเสียง ความรุนแรงในครอบครัว ทุบตี ด่าทอ ลูกหรือภรรยา ปัญหาทางกายและจิตใจเป็นเรื่องภายในครอบครัว แต่ถ้าเห็นว่าการกระทำเกินกว่าเหตุจะมีกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ผู้อื่นที่พบเห็น เพื่อนบ้านใกล้เคียงสามารถแจ้งเหตุได้ถึงแม้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน

5.เพื่อนบ้านจอดรถขวางทางเข้า – ออก

เพื่อนบ้านจอดรถขวางทางเข้าออก

ปัญหาเพื่อนบ้านจอดรถขวางหน้าบ้านอ้างอิงตามกฎหมาย พ.ร.บ.การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ระบุว่าการจอกรถหน้าบ้านมีโอกาสผิด เช่น จอดในทางร่วมทางแยก จอดในเขตที่มีเครื่องหมายห้ามจอด ห้ามหยุด จอดบริเวณปากทางเข้า – ออก ทางเดินรถ หรือจอดในเขตปลอดภัย (มีโทษปรับ) ซึ่งการจอดรถขวางทางจะเข้าข่ายการหน่วงเหน่ยวหรือไม่ให้คนใช้ทางเข้า – ออกได้ สามารถฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ศาลมองว่าเป็นการขังรือหรือรั้งไม่ให้ออกไปไหน (สามารถจอดรถหน้าบ้านได้ หากไม่กีดขวางทางใคร)

ตัวอย่างบทลงโทษทางกฎหมายเมื่อเจอปัญหาเพื่อนบ้านตรรกะป่วย

  1. การใช้คำพูดหยาบคาบ อ้าย อี และคำพูดรุนแรงทำร้ายจิตใจ สามารถแจ้งความเอาผิดดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
  2. ปัจจุบันกล้องวงจรปิดถูกนำมาใช้เพื่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิต แต่ถ้าหากนำมาให้ในทางที่ผิด เช่น ตั้งใจวางหันทิศทางกล้องไปบ้านคนอื่น มีข้อกฎหมาย PDPA เข้ามาอ้างอิงเพื่อคุมครองข้อมูลส่วนบุคคล การละเมิดด้วยการเบนทิศทางกล้องอย่างตั้งใจ มีโทษจำคุก 1 ปี
  3. หากมีการนำภาพที่บันทึกจากกล้องวงจรปิดไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
  4. การวางสิ่งของนานาชนิดไว้บริเวณกำแพง เช่น เหล็ก สังกะสี หรือสิ่งใดที่มีน้ำหนักอย่างตั้งใจ เมื่อร่วงลงมาสร้างความรำคาญ ทำให้รบกวน หรือทำทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายมีความผิดฐานบุกรุก
  5. โยนหรือปาสิ่งของมีคม เช่น กรรไกร มีด เข้ามาในพื้นที่บ้าน มีความผิดทางอาญา โทษปรับ 10,000 บาท

ถึงแม้หลายคนจะพูดว่าราคาบ้านสามารถซื้อสังคมเพื่อนบ้านที่ดีได้ แต่หากมองในมุมกว้าง ๆ ไม่มีใครล่วงรู้เหตุการณ์และคาดเดาวิธีคิด จิตใจ ของผู้อื่นได้เลย หลายคนอาจเจอปัญหาเพื่อนบ้านที่แตกต่างกันไป แต่การได้ทำความเข้าใจวิธีการรับมือ ข้อปฏิบัติพื้นฐาน รวมถึงกฎหมายอ้างอิงเบื้องต้น จะช่วยให้การดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นง่ายมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทางที่ดีควรถ้อยทีถ้อยอาศัย คุยกันได้ คุยกันก่อน เพราะต้องอยู่ร่วมกันไปอีกนานนั่นเอง

 

หมวดหมู่