top

รอบรู้เรื่องอสังหาฯ

รอบรู้เรื่องอสังหาฯ รอบรู้เรื่องบ้าน D.DOPA “ทะเบียนบ้านดิจิทัล” แอปพลิเคชันที่ทำให้การทำธุรกรรมง่ายขึ้น
ขั้นตอนการใช้งาน “ทะเบียนบ้านดิจิทัล” ติดต่อราชการผ่านมือถือง่าย ๆ สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก

ตั้งตารออัปเดตมาตั้งแต่ต้นปี 2565 กับโปรเจกต์ “D.DOPA Digital ID” ที่กระทรวงมหาดไทยเพิ่งประกาศใช้เป็น ทะเบียนบ้านดิจิทัล ซึ่งแอปพลิเคชันมีฟังก์ชันที่สามารถใช้ติดตาม ถามไถ่ การย้ายเข้า – ออกของสมาชิกในครอบครัวได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องเดินทางไปดำเนินการด้วยตนเอง ณ สำนักงานเขต แต่ในทางกลับกันก็มีอีกหลายเสียงให้ความเห็นว่าการนำข้อมูลผูกไว้บนโทรศัพท์อาจนำมาซึ่งภัยอันตรายกับผู้ใช้ รัฐบาลจึงมีหน้าที่สร้างความสบายใจ ความปลอดภัยให้กับระบบทะเบียนบ้านออนไลน์ สาระอสังหา พามาทำความรู้จักแอปพลิเคชัน D.DOPA ให้มากขึ้น ว่าในฐานะผู้ใช้งานต้องเตรียมตัวอย่างไร พร้อมไขข้อข้องใจให้ทุกคนได้ทราบในหมวดหมู่ Q&A

D.DOPA แอปพลิเคชันทะเบียนบ้านดิจิทัล คืออะไร

โปรเจกต์โครงการนำร่องในการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศไทย โดยมีพื้นฐานสำคัญในการเชื่อมโยงการยืนยันตัวตนของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกันผ่านช่องทางระบบออนไลน์ แทนการใช้ระบบปฏิบัติการแบบเดิม ๆ หรือการเดินทางมายืนยันตัวตนผ่านเอกสารราชการ ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้การทำธุรกรรมของภาครัฐ และเอกชนเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยื่งขึ้น

ขั้นตอนการลงทะเบียนแอปพลิเคชัน D.DOPA เริ่มใช้งานด้วยตัวเองง่าย ๆ ดังนี้

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน D.DOPA (ใช้งานได้ทั้งระบบ Ios และ Android)
  2. ยืนยันตัวตน ณ สำนักงานเขต หรืออำเถอใกล้เคียง

ขั้นตอนการยืนยันตัวตน ณ สำนักงานเขต

  1. ติดต่อเจ้าหน้าที่แผนกทะเบียนราษฎร ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีการขอบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อตรวจสอบข้อมูล
  2. สแกนลายนิ้วมือเพื่อยืนยันตัวตน
  3. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน D.DOPA พร้อมลงทะเบียนการใช้งาน
    – กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมกดลงทะเบียน (สแกน QR CODE จากเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันตัวตน)
    – ตั้งรหัสผ่านด้วยตัวเลขจำนวน 8 หลัก
  4. หลังจากเข้าสู่ระบบสำเร็จ จะเห็นได้ว่าหน้าแรกของแอพลิเคชันจะปรากฏข้อมูลส่วนตัว บัตรประชาชน ผลการฉีดวัคซีน และการให้บริการด้านต่าง ๆ ของแอปพลิเคชัน
  5. ตรวจสอบความถูกต้องของของมูลอีกครั้ง

 

ขั้นตอนการลงทะเบียนใช้งานD.DOPA-ทะเบียนบ้านดิจิทัล

Q&A ตอบข้อสงสัย / ปัญหาที่พบในการใช้งานแอปพลิเคชัน D.DOPA “ทะเบียนดิจิทัล”

1.เมื่อสมัครใช้งานทะเบียนบ้านดิจิทัล แล้วไม่จำเป็นต้องพกสมุดทะเบียนบ้านเลย ?

: Digital ID ไม่ได้หมายถึงการยกเลิกใช้ทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชน กระบวนการสมัคร และยืนยันข้อมูลส่วนบุคคลให้ละเอียด จะสามารถใช้ควบคู่กันได้ ส่วนการทำธุรกรรมที่ยังต้องเดินทางไปติดต่อประสานงานเอกชนหรือรัฐบาลด้วยตัวเองก็ยังจำเป็นต้องใช้สมุดทะเบียนบ้านต่อไป

2.ต้องการย้ายที่อยู่ สามารถใช้ Digital ID ได้หรือไม่

: สามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้เลย ไม่จำเป็นต้องไปที่เขต สามารถดำเนินการด้วยตนเอง แต่ทั้งสองฝ่าย ผู้ขอย้ายและเจ้าบ้านต้องมีแอปพลิเคชัน

3.วันหยุดราชการ เสาร์ – อาทิตย์ สามารถทำธุรกรรมผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้หรือไม่

: สามารถทำธุรกรรมได้ไม่มีวันหยุด โดยในอนาคตอาจมีบริการอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้ามา

4.ปัจจุบันในแอปพลิเคชันมีบริการอะไรบ้าง

: ตรวจสอบข้อมูลของตัวเองที่รัฐจัดเก็บไว้ ทราบรายละเอียดรถ ทะเบียนรถ ที่อยู่อาศัย คอนโด ฯ และยังจองคิวติดต่อสำนักทะเบียน แจ้งเหตุจำเป็นถึงการไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตรวจสอบบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อีกทั้งยังดูประวัติการรับวัคซีนได้

5.ทำโทรศัพท์หายข้อมูลจะรั่วไหลหรือไม่

: ไม่ เพราะข้อมูลอยู่ในระบบเซิร์ฟเวอร์ ต้องกรอกรหัสผ่านก่อนเข้าใช้งาน

 

ภาพรวมแอปพลิเคชันทะเบียนบ้านดิจิทัล D.DOPA และบริการต่าง ๆ

 

สำหรับขั้นตอนการยืนยันตัวตนทะเบียนบ้านดิจิทัล (Digital ID) ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด สามารถตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวทั้งชื่อ – สกุล ข้อมูลบิดา มารดา ที่อยู่ และยังมีระบบการลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้า ซึ่งตัวเราสามารถเลือกได้ว่าใช้บริการที่จังหวัด อำเภอ หรือเขตไหน เข้ารับงานบริการอะไร วันที่เท่าไหร่ สามารถแจ้งย้ายที่อยู่ด้วยตัวเองง่าย ๆ แต่ภายใต้ความสะดวกมากมาย ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในส่วนของการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ที่ทั้งตัวเรา และเจ้าของบ้านต้องทำการยืนยันและเปิดใช้งาน D.DOPA ด้วยเช่นเดียวกันถึงจะสามารถทำธุรกรรมได้ โดยในอนาคตภาครัฐยังยืนยันว่าจะมีการวางแผนเพิ่มบริการธุรกรรมต่าง ๆ อีกมาก

About author

เป็นนักการตลาดออนไลน์ เสพติดข่าวสาร กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจโลกและแวดวงอสังหาฯ เชื่อว่าเรื่องราวที่ได้รู้มีบทเรียนชีวิตแฝงอยู่ให้เราเสมอ

หมวดหมู่