กู้เงินสร้างบ้านบนที่ดินตัวเอง มีขั้นตอนอย่างไร เตรียมอะไรบ้าง?
การกู้เงินสร้างบ้านก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำคัญ ที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน นอกจากจะได้บ้านที่ตรงใจ ตรงสเปก แล้วยังสามารถกำหนดได้ทั้งหมด ตั้งแต่แปลนบ้าน ขนาดพื้นที่ รวมไปถึงเรื่องฟังก์ชันบ้าน ถึงแม้ว่าปัจจุบันในตลาดอสังหาริมทรัพย์จะมีผู้พัฒนาฯ อยู่หลายเจ้า ที่ผลิตบ้าน โครงการบ้านออกมาให้เลือกมากกมาย แต่การสรา้งบ้านอยู่เองก็ยังได้รับความนิยมอยู่เช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่าการสร้างบ้านอยู่เองอาจจะเป็นเรื่องที่ฟังแล้วดูดี ดูกำหนดได้หลาย ๆ อย่าง นั่นก็ไม่ได้การันตีว่าจะไม่มีข้อเสียเลยสักทีเดียว
การกู้สร้างบ้านบนที่ดินตัวเอง
การสร้างบ้านอยู่เองจะมีกระบวนการหลาย ๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง แตกต่างกับการกู้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำความเข้าใจในกระบวนการก่อสร้าง (เบื้องต้น) เพื่อควบคุมงาน การออกแบบ ระบบใช้งานน้ำ ไฟ ฯลฯ ซึ่งมีเรื่องที่ควรให้ความสำคัญและพิจารณา ได้แก่
- การจัดการงบประมาณ จัดสรรไม่ดีงบบานปลาย
- รายละเอียด ระยะเวลาก่อสร้างที่อาจจะยืดออกไปตามอุปสรรคที่เจอ
โดยทั้งหมดต้องอาศัยประสบการณ์ ความชำนาญในการวางแผน เช็กความพร้อมในการบริหารจัดการงานใหญ่ ไปสู่คำตอบที่ว่าการสร้างบ้านวิธีนี้เหมาะกับตัวเองจริงหรือไม่
การกู้เงินสร้างบ้านกับธนาคาร
คล้ายกับการกู้ซื้อบ้าน ซึ่งเป็นรูปแบบการกู้ยืมเงินก้อนกับธนาคารเพื่อนำไปซื้อบ้าน แต่การกู้เงินสร้างบ้านจะเป็นลักษณะการกู้ยืมธนาคาร โดยที่ทางธนาคารจะจ่ายเงินมาให้ผู้กู้ เพื่อนำไปจ่ายผู้รับเหมาต่อเป็นงวด ซึ่งหากต้องการแบ่งประเภทการกู้เงินธนาคารมาเพื่อสร้างบ้าน จะสามารถแบ่งได้ตามจุดประสงค์ของลูกค้า 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) สร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง กู้เพื่อก่อสร้างบ้านเพียงอย่างเดียว (2) กู้ซื้อที่ดินพร้อมสร้างบ้านในคราวเดียวกัน ทั้งสองอาจจะมีกระบวนการที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในขั้นตอนการซื้อที่ดิน หาซื้อที่ดิน
ขั้นตอนกู้เงินสร้างบ้านกับธนาคาร
1.เตรียมหาแปลนบ้าน/ติดต่อผู้รับเหมา
แน่นอนว่าการยื่นกู้กับธนาคาร เจ้าหน้าที่ต้องอยากทราบรูปแบบบ้าน รายละเอียดแบบแปลนบ้านก่อน ซึ่งการหาแปลนบ้านสามารถทำได้หลายวิธี ค้นหาแบบฟรีบนอินเทอร์เน็ตแล้วโทรติดต่อเจ้าของให้ช่วยลงลายมือกำกับ หรือจ้างสถาปนิกให้ออกแบบ เขียนแปลนบ้านให้ วิธีนี้จะได้บ้านแบบ Custom made กำหนดฟังก์ชันต่าง ๆ ในตัวบ้านได้ตามต้องการ แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการหาแบบบ้านสำเร็จรูป หลังจากนั้นขอใบอนุญาตก่อสร้างของแปลนบ้าน ณ กรมที่ดินหรือสำนักงานเขตนั้น ๆ เพื่อขออนุญาตก่อสร้าง (ถ้าไม่ขอผิดกฎหมาย)
นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ธนาคารต้องการจากผู้กู้ ยังมีในเรื่องของสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมา เพราะการกู้สร้างบ้านต้องมีหลักฐานยืนยันว่าเกิดการจ้างงานให้สร้างบ้านจริง มีหลักฐานว่าจะทำการจ้างกันจริง ธนาคารจึงจะอนุมัติสินเชื่อปล่อยเงินงวดให้
2.เตรียมเอกสารขอสินเชื่อกับธนาคาร/เลือกธนาคาร
สำหรับใครที่วางแผนสร้างบ้าน สิ่งแรกที่ควรทำคือการเลือกธนาคารที่จะทำการยื่นกู้ ดูว่าธนาคารมีนโยบายแบบไหน โปรโมชันอะไรบ้าง เพื่อนำไปคำนวณอัตราดอกเบี้ยบ้านและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ปัจจุบันมีหลายธนาคารที่ออกโปรโมชันหรือผลิตภัณฑ์กู้สร้างบ้านดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก (ผ่อนต่ำ) ยกตัวอย่างเช่น ธอส. ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารยูโอบี ฯลฯ ถ้าหากเลือกธนาคารได้ ก็จะวางแผนการเงินและการดำเนินการด้านอื่นต่อได้
ขั้นตอนนี้คือการนำเอกสารจากขั้นตอนที่ 1 ยื่นกับธนาคารเพื่อกู้สร้างบ้าน ‘สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย’ จุดเด่นดอกเบี้ยต่ำเฉลี่ย 6.5% ระยะเวลาผ่อนสูง 30 – 40 ปี เอกสารอื่น ๆ ที่ต้องยื่นกู้ธนาคารคล้าย ๆ กับการยื่นกู้ซื้อบ้าน ได้แก่
- เอกสารยืนยันตัวตน : สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนหย่า ใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
- เอกสารแสดงรายได้ : พนักงานเงินเดินใช้สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 – 12 เดือน หนังสือรับรองรายได้
- เอกสารหลักประกัน : หรือเอกสารตามหัวข้อที่ 1 ผู้รับเหมาต้องเขียนสัญญาว่าจ้างอย่างละเอียดว่าแต่ละงวดใช้จ่ายส่วนไหน เป็นเงินจำนวนเท่าไร ธนาคารจะจ่ายเงินให้เป็นงวดไป
3.เตรียมเงินสำรอง
สำรอง 40-50% ของมูลค่างาน การกู้เงินสร้างบ้านใช้กระบวนการวางแผนและเตรียมความพร้อมด้านการเงินเยอะกว่าการซื้อบ้านประมาณนึง ยิ่งหากเป็นกรณีกู้ซื้อที่ดินยิ่งเป็นไปได้ว่าธนาคารจะไม่ปล่อยกู้เต็มจำนวน สูงสุด 50-80% บางกรณี 80% ของราคาประเมิน
จะเห็นว่าการกู้เงินสร้างบ้านมีความแตกต่างกับการกู้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอยู่มาก เพราะการกู้ซื้อในบางกรณีกู้ได้เต็มวงเงิน 100% โดยไม่ต้องวางเงินดาวน์ บางกรณีซื้อคอนโดเงินเหลือ แต่การกู้เงินสร้างบ้านจะไม่เหมือนกัน ธนาคารไม่ได้ให้เงินก้อนแต่จ่ายเงินเป็นงวด การเตรียมเงินสำรองให้พร้อมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก เผื่อระหว่างก่อสร้างมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพิ่มแต่ยังไม่ถึงกำหนดจ่ายงวดของทางธนาคาร ดังนั้น ควรเตรียมเงินสำรองเฉลี่ย 40-50% ของมูลค่าบ้านจะช่วยป้องกันปัญหาเรื่องเงินได้ดี ทั้งยังช่วยให้งานราบรื่นก่อสร้างแล้วเสร็จตามกำหนด
สำหรับใครที่กำลังวางแผนกู้เงินสร้างบ้านบนที่ดินเดิม อาจจะเป็นบ้านหลังแรกที่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดูบ้าน DoBaan รับสร้างบ้าน เชียงใหม่ บริการรับสร้างบ้าน พร้อมให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่ม พูดคุยกับวิศวกรตั้งแต่ครั้งแรก พร้อมทีมงานดูแลเรื่องสินเชื่อ บริการแบบครบ จบในที่เดียว ‘one stop service’ ซัพพอร์ตลูกค้าทั้งก่อนและหลังการขาย การันตีผลงานและมาตรฐานการให้บริการจาก Feedback ของลูกค้า