top

ประชาสัมพันธ์

ประชาสัมพันธ์ บทสัมภาษณ์ ดูบ้าน กรุ๊ป มุ่งพลิกโฉมวงการอสังหาฯ เชียงใหม่ เน้นกลยุทธ์ทันสมัย ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคดิจิทัล
ดูบ้าน กรุ๊ป บริษัทอสังหาฯ เชียงใหม่

โอกาสในการสร้างบ้านหนึ่งหลังของคนเราไม่ได้มีเข้ามาบ่อย ๆ เมื่อทำหนึ่งครั้งก็อยากทำให้ดี อีกสิบปี หรือยี่สิบปี มองย้อนกลับมาดูจะได้ไม่รู้สึกเสียดาย โดยทั่วไปแล้วดีไซน์ของบ้าน แบบบ้าน สไตล์บ้านจะเริ่มจุดประกายความนิยมมาจากเมืองหลวง หรือหัวเมืองต่าง ๆ แล้วขยายออกไปตามภูมิภาค ส่วนภาคเหนือตอนบนอย่างจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พูดกันตามตรงกว่าความนิยมในแบบบ้าน สไตล์บ้านใหม่ ๆ จะมาถึง คนอื่นก็คงปลูกบ้านจนเสร็จหรือเข้าอยู่กันไปแล้ว

ทีมงานสาระอสังหาพามาทำความรู้จักบริษัทรับสร้างบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ ธุรกิจอสังหาฯ แบรนด์น้องใหม่ที่เติบโตไวในระยะเวลาเพียง 2 ปี ดูบ้านกรุ๊ป (DoBaan Group) บริษัทสตาร์ตอัปที่บริหารด้วยคนรุ่นใหม่ ณพิชญา ไกรชวินยง (เฟิร์ส) ให้สัมภาษณ์ถึงจุดเริ่มต้นของดูบ้าน การทำงานด้วยใจ การรับเทรนด์อสังหาใหม่ ๆ เข้ามา ทั้งเรื่องดีไซน์ วัสดุ คุณภาพ ทุกอย่างต้องเดินหน้าไปพร้อมกับเวลาได้ นอกจากภาพลักษณ์ความสำเร็จแบบก้าวกระโดด คุณเฟิร์สยังเล่าถึงเบื้องหลังการลองผิดลองถูกสไตล์น้องใหม่ การให้บริการด้วยใจ Service Mind รวมถึงมุมมองของความเป็นผู้นำ เหตุผลที่ “ดูบ้าน” ชื่อนี้เริ่มจะติดหูคนในพื้นที่ และเป็นที่กล่าวถึงไม่แพ้แบรนด์ชั้นนำอื่น ๆ

ผู้บริหารดูบ้านกรุ๊ป

01 จุดเริ่มต้นบริษัท ดูบ้าน กรุ๊ป

คุณเฟิร์สให้สัมภาษณ์กับทีมงานว่าก่อนจะเป็น ดูบ้าน กรุ๊ป ในปัจจุบัน แท้จริงแล้วเกิดจากจุดเล็ก ๆ ที่มองเห็นโอกาส (Opportunity) หลังมีประสบการณ์การทำบ้านโครงการภายใต้บริษัท เดอะ วิสดอม พร๊อพเพอร์ตี้ ตั้งแต่การจัดจ้าง จัดซื้อ รวมทุกขั้นตอนไปจนถึงการขาย ซึ่งต่อมาหลังเปิดตัวบริษัทดูบ้านขึ้น ก็คงคอนเซ็ปต์การบริการแบบครบ จบ ในที่เดียว หรือ All in เสมอมา ลึกลงไปเบื้องหลังยังมีบริษัทดีไซน์และรับสร้างบ้าน ขยายไปในส่วนของเอเจนซี (Agency) เช่า ซื้อ ขาย ฝากขาย อสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ กรุงเทพฯ และมีบริษัทซอฟต์แวร์เฮ้าส์ (Software House) ที่คุณเฟิร์สตั้งใจก่อตั้งขึ้นมาภายใต้แบรนด์ดูบ้าน

บริษัท ดูบ้าน กรุ๊ป

ส่วนสำคัญที่ทีมงานสอบถาม เนื่องจากมีหลายคนสงสัย ทำไม “ ดูบ้าน” ต้องเป็น “ดูบ้าน” ชื่อนี้มีที่มาจากการถกเถียงหลาย ๆ ชื่อเหมือนการตั้งชื่อแบรนด์ทั่วไป แต่สุดท้ายก็ Final คำว่า ดูบ้าน เพราะต้องการเน้นคำ ดู ในภาษาไทย หมายถึงการดู มองดู มองหาบ้าน และในส่วนของ Do ภาษาอังกฤษก็แปลว่า ทำ ไม่ว่าจะมองหาบ้านอยู่หรือสนใจสร้างบ้านก็มาดูได้ที่ดูบ้าน ได้ทั้งความหมายภาษาไทยและภาษาอังกฤษทีเดียว สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ความ All-in

กลับมาขยายความบริษัทในเครือเดียวกัน ที่ซัปพอร์ต (Support) ซึ่งกันและกันมีอยู่ทั้งหมด 4 บริษัท ได้แก่ (1) The Wisdom Property ที่กล่าวไปข้างต้นจะเป็นโครงการบ้าน แรกเริ่มเดิมทีเป็นโครงการขนาดเล็ก มีเพียงไม่กี่ยูนิต แต่ในปี 2566 ก็แพลนขยับขยายกลุ่มลูกค้าเพิ่มไปทาง Luxury มากขึ้น (2) The Wisdom Perspective จะดูแลในส่วนของงานดีไซน์ งานก่อสร้าง การตรวจรับบ้าน QC (3) The Wisdom Propfect ทำหน้าที่เสมือนคนกลางในการหาอสังหาริมทรัพย์ให้กับลูกค้า ดูแลเกี่ยวกับการขายทั้งหมด (4) Wisdom Epic Coding ทำการออกแบบแพลตฟอร์มและพัฒนาเว็บไซต์ แต่ถ้าหากต้องพูดต่อในเรื่องของหน้าที่งาน การแบ่งทีมบุคลากร หลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 5 แผนก คือ ฝ่ายงานบุคคล ฝ่ายบัญชี ฝ่ายงานโครงสร้าง (ดีไซน์ ออกแบบ เขียนแบบ จัดซื้อ จัดจ้าง) ฝ่ายซอฟต์แวร์เฮ้าส์ รวมถึงฝ่ายการขายและการตลาด

ในระยะเวลา 2 ปี มีอะไรหลาย ๆ อย่างที่เปลี่ยนแปลง แต่ดูบ้านก็พัฒนาสอดคล้องกันไปในทิศทางที่ดีเกินคาด เมื่อถามถึงจุดเด่นของบริษัทที่ลูกค้ามักจะเอ่ยชม คุณเฟิร์สให้คำตอบเดิม ความ All-in ที่มีให้ลูกค้าเลือกแบบครบ จบ ในที่เดียว ตั้งแต่เรื่องของการให้คำแนะนำ การขอสินเชื่อ การขาย ออกแบบ ก่อสร้าง รวมถึงบริการหลังการขาย


“เรามีบริการทุกอย่าง เวลาที่ลูกค้าเข้ามาปรึกษาก็ค่อนข้างจะสะดวกต่อตัวลูกค้าเอง เราสามารถสอบถามความต้องการและให้บริการเค้าได้ตรงจุดประสงค์ตั้งแต่ครั้งแรก ต้องการกู้ไหม วงเงินเท่าไหร่ แบบบ้านประมาณไหน” คุณเฟิร์ส


ส่วนอีกเรื่องที่มักจะได้รับคำชมจากลูกค้า คือ เรื่องของตัวดีไซน์บ้านที่ค่อนข้างจะแปลกกว่ารูปแบบที่มีในตลาด ความแปลกของแบบบ้านในที่นี้ก็หมายถึงสไตล์บ้านที่ได้รับความนิยม เช่น Mimimal Japaness และ Mid Century กึ่ง ART DECO เมื่อตั้งเป้าจะเป็นผู้นำเทรนด์ นอกจากแข่งคุณภาพแล้วต้องแข่งกับเวลา อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้าว่าความนิยมเริ่มกระจายมาจากเมืองหลวงหรือหัวเมืองใหญ่ ๆ การทำการบ้านให้ไวและตามตลาดให้ทันเป็นส่วนสำคัญที่สร้างจุดเด่นให้บริษัทได้

Casa Modern House

Kiro House


“ปกติเทรนด์บ้าน แบบบ้านใหม่ ๆ จะเริ่มความนิยมจากกรุงเทพฯ แล้วค่อย ๆ กระจายมาตามภูมิภาค ตัวเฟิร์สและทีมงานก็ต้องรวดเร็วในการรับข่าวสารและเทรนด์อสังหาฯ ใหม่ ๆ เฟิร์สคิดว่าเชียงใหม่ก็ควร pick up ให้ทันกรุงเทพ ” คุณเฟิร์ส


02 เบื้องหลังบริหารงาน บริหารคน บ.ยุคใหม่

ด้วยความที่ดูบ้านยังถือว่าเป็นบริษัทสตาร์ตอัป แต่คุณเฟิร์สไม่ได้มองอสังหาฯ น้องใหม่ว่าเป็นจุดอ่อน กลับให้ความสำคัญกับการสื่อสาร การคุยอย่างไรให้เข้าใจในเป้าหมายและพาทีมเดินไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งคุณเฟิร์สและผู้บริหารท่านอื่นยังมีมุมมองต่อเรื่องการรับพนักงานที่ตรงกัน ที่นี่ไม่ได้จำกัดในเรื่องของช่วงวัย แต่ต้องยอมรับความจริงว่าการทำงานบางครั้งก็ยังมีช่องว่างระหว่างอายุ ปัญหาที่ได้สัมผัสจริงส่วนนี้จะกลับมาสะท้อนคำตอบว่าทำไมการสื่อสารถึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่เปิดกว้างในเรื่องดังกล่าวนี้ ไม่ได้หมายความว่าไม่คัดกรองคน ก่อนรับพนักงานสักคนต้องผ่านการพิจารณาทีมฝ่ายบุคคลหลังมีการพูดคุยร่วมกัน นอกจากทัศนคติแล้ว ยังมีเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ และสิ่งที่เรียกว่า DNA เดียวกัน ความคิดที่ไปด้วยกันได้ ไม่ทำให้บรรยากาศการทำงานพัง หรือเรียกว่า Toxic Work Environment

ดูบ้าน รับออกแบบ สร้างบ้านเชียงใหม่

ภาพลักษณ์บริษัทดูบ้านที่หลายท่านอาจจะเห็นคอนเทนต์ตามช่องทางโซเชียลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook YouTube หรือ TikToK สื่อที่ถ่ายทอดออกไปให้เห็นบรรยากาศภายในบริษัท สวัสดิการต่าง ๆ ที่พนักงานได้รับ คุณเฟิร์สเองในฐานะผู้บริหารอายุน้อย ก็มีการตั้งคำถามและหาคำตอบกับตัวเอง ทำอย่างไรให้ทุกคนทำงานได้โดยไม่ต้องคิดถึงเรื่องอื่น เต็มที่กับหน้าที่ มาทำงานอย่างแฮปปี ทำผลงานออกมาได้คุณภาพ และดีสมกับความตั้งใจ เพราะความเป็นทั้งบริษัทดีไซน์และ Construction ความสบายใจและบรรยากาศในการทำงานจะส่งผลเชิงบวกต่อผลงานที่ส่งมอบให้ลูกค้า ซึ่งการที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องมาจาก Idea และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ สภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานเป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อค่าตอบแทนดี สวัสดิการดี สังคมดี ไม่ว่าเรื่องอะไรทั้งงานและปัญหาจะผ่านไปได้ กล้าที่จะพูดคุย คุณภาพงานจะดีขึ้นตามมา

03 Interview

1.แบบบ้านสไตล์ไหนที่ได้รับความนิยม

: “บ้านโครงการเดอะ วิสดอม พร๊อพเพอร์ตี้ สไตล์ที่ตอบโจทย์จะเป็น Minimal และ Modern Minimal แต่ถ้าเป็นลูกค้าบ้านพร้อมสร้างของดูบ้านจะชอบแนว Modern ซึ่งช่วงนี้สไตล์ที่ค่อนข้างได้รับผลตอบรับดีเป็น Mid Century, Minamal Japaness และ Modern ดีไซน์ของบ้านหรือประเภท (Type) แต่ละหลังจะคล้อยตามกับ Budget” คุณเฟิร์ส

2.ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่พบในองค์กร

: “เพราะเป็นบริษัทสตาร์ตอัป ปัญหาที่พบเจอบ่อยในช่วงแรก ๆ แน่นอนว่าเป็นเรื่องระบบงาน เฟิร์สจะเรียกว่าทดลองใช้ ทุกอย่างตั้งแต่เริ่มจะเป็นการทดลองแล้วใช้จริง เมื่อทำไปเรื่อย ๆ เริ่มจับทิศทางได้ก็เริ่มลงตัว เฟิร์สก็กลับมามองเรื่องของคนและการสื่อสาร ซึ่งตอนนี้ทางทีม Developer ก็เข้ามาช่วยพัฒนาระบบออนไลน์ เพื่อให้การสื่อสารประสานงานต่าง ๆ เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเหมือนกัน ผู้บริหาร หัวหน้าทีม สมาชิกทีมต้องตรวจสอบว่าสิ่งที่พูดไปเข้าใจตรงกันหรือไม่” คุณเฟิร์ส

3.ตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน ‘ดูบ้าน’ เติบโตไปกี่เปอร์เซ็นต์

: “เฟิร์สว่าการตอบเป็นข้อชัดกว่าการตอบเป็นปริมาณตัวเลข ในเรื่องของประสิทธิภาพ ผลประกอบการ บุคลากร เฟิร์สว่าส่วนนี้เกินเป้าหมายและเกินที่คาดไว้ก่อนหน้านี้มาก ทั้งหมดนี้อย่างน้อยต้องใช้เวลามากกว่านี้ แต่พอทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง ทุกคนทำงานเสมือนการจุดไฟติดแล้วมันก็ติดต่อไปเรื่อย ๆ ไปยาว ด้วยความที่ลงตัวไว ทำให้เฟิร์สมองเห็นภาพที่กว้างขึ้น ชัดเจนขึ้น เป้าหมายที่ทีมกำลังไปก็จะง่ายขึ้น” คุณเฟิร์ส

4.คติประจำใจที่ใช้ได้เสมอกับบทบาทผู้บริหาร

: “ตัวเฟิร์สเองไม่ได้มีคติประจำใจในรูปแบบประโยคหรือ Quote แต่เราก็มีหลักการบริหารภายใต้ความเข้าใจในมุมมองทั้งผู้บริหารและลูกค้า แน่นอนว่าการสร้างบ้านหนึ่งหลังไม่ได้ง่ายเหมือนการเลือกซื้อเสื้อผ้า การส่งมอบบ้านมูลค่าหลักล้าน เราจะทำอย่างไรให้ลูกค้ารับไปแล้วรู้สึกคุ้มค่ามากที่สุด ทุกขั้นตอน ทีมงานทุกคนมีส่วนร่วม ต้องใช้ความตั้งใจ ความซื่อสัตย์ งานคุณภาพ การอยู่อาศัยได้จริง ฟังก์ชันคือสิ่งสำคัญ” คุณเฟิร์ส

5.แผนการขยายธุรกิจในอนาคต

: “เราวางแผนไว้ 2 ส่วน ได้แก่ 1.Offline การก่อสร้างในรูปแบบพาร์ทเนอร์ (Partner) จังหวัดต่าง ๆ มีทั้งที่เราติดต่อไปและเค้าติดต่อมา ตั้งใจขยายไปตามหัวเมืองต่าง ๆ 2.Online ตั้งใจพัฒนาแพลตฟอร์มภายใต้แบรนด์ดูบ้าน ทำให้ All-in เหมือนที่เราทำทุกวันนี้เพื่อสร้าง Eco-Systems ในธุรกิจให้ครบวงจร และการดำเนินงานของเราในระยะยาว ไม่ใช่เป็นเพียงการตอบโจทย์ลูกค้า แต่ในวงอุตสาหกรรมต้องคำนึงถึงผู้ประกอบการ ผู้รับเหมา ช่างที่เป็นบุคคลธรรมดา เราเองก็ตั้งใจให้มี Service สำหรับทุกคน” คุณเฟิร์ส

6.เป้าหมาย ความคาดหวัง อยากให้ดูบ้านไปไกลถึงจุดไหน

: “มีความตั้งใจพาดูบ้านเข้าตลาดหลักทรัพย์ค่ะ”

DoBaan Group

การให้บริการลูกค้าฉบับ ดูบ้าน กรุ๊ป ไม่ใช่แค่การเทคแคร์ระหว่างขั้นตอน แต่ต้องมองย้อนไปถึงจุดประสงค์ สถาปนิกจะสอบถามลูกค้าเกี่ยวกับการวางแผนขยายครอบครัว ความต้องการซื้อรถยนต์ หรือให้ลูกค้าช่วยเล่าแพลนในอนาคตคร่าว ๆ ก่อนเสมอ เพื่อให้ทราบว่าบ้านหลังนี้ตอบโจทย์แล้วจริง ๆ ฟังก์ชันบ้าน ดีไซน์หรือแม้แต่วัสดุ ทำอย่างไรให้ตามทันกาลเวลา ไม่พอในอนาคตยังต้องนำด้วย การส่งมอบบ้านแล้วลูกค้ารู้สึกพึงพอใจ รู้สึกคุ้มค่า ก็ถือเป็นที่สุดของความหายเหนื่อยทีมงานทุกคน

 

สุดท้ายใครที่กำลังมองหาแนวทางในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจด้านอสังหาฯ หรือธุรกิจอื่น ๆ สามารถนำเรื่องราวในบทความสัมภาษณ์ข้างต้นมาเป็นแรงบันดาลใจได้ ติดตามและอ่านบทสัมภาษณ์นักธุรกิจ อินฟลูเอนเซอร์ท่านอื่นต่อได้ที่ สาระอสังหา หรือ Facebook : สาระอสังหา

About author

เป็นนักการตลาดออนไลน์ เสพติดข่าวสาร กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจโลกและแวดวงอสังหาฯ เชื่อว่าเรื่องราวที่ได้รู้มีบทเรียนชีวิตแฝงอยู่ให้เราเสมอ

หมวดหมู่