top

ประชาสัมพันธ์

ประชาสัมพันธ์ ข่าวเศรษฐกิจ ดร.ศุภวุฒิ เตือนเศรษฐกิจไทยชะงัก สินค้า-น้ำมันราคาแพง ดอกเบี้ยขึ้นซ้ำเติมให้วิกฤต
เศรษฐกิจไทย

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ได้กล่าวว่า “นโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นในช่วงข้างหน้า จะแปลกและผิด แตกต่างจากสมัยก่อน คือ ขึ้นทั้งดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวพร้อม ๆ กัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้รับมอบหมายโดยรัฐสภาโดยกฎหมาย ให้ทำ 2 อย่าง คือ รักษาเสถียรภาพของราคา และทำให้มีการจ้างงานเต็มกำลัง”


ในปัจจุบันพันธกิจของธนาคากลางสหรัฐฯ ตามคาดการณ์อัตราคนว่างงานจะลดลงจาก 3.9% เหลือ 3% ภายในปลายปี 2565 ส่วนจำนวนเงินเฟ้อก็สูงมากกว่าที่คาดหมายไว้นี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ ทั้งตัวเลขจำนวนเงินเฟ้อ และตัวเลขการจ้างงานของอเมริกา ในประมาณเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2565 จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่านโยบายควบคุมเงินเฟ้อนี้ได้ผลหรือไม่ และที่สำคัญต้องมีนโยบายที่เข้มข้นกว่านั้นหรือเปล่า ซึ่งหากมีก็จะส่งผลกระทบอย่างมาก เพราะอย่างที่เห็นจากต้นปีนี้ ที่ตลาดกลัวว่านโยบายธนาคารกลางสหรัฐฯ จะต้องเข้มข้นขึ้น หุ้นก็ร่วงลง ซึ่งส่วนนี้คือ ผลกระทบกับราคาสินทรัพย์ และความตึงของสถานะทางการเงินของโลก ที่แน่นอนว่าต้องส่งผลกระทบถึงประเทศไทยด้วย

ข่าวเศรษฐกิจ

ไทยไม่พร้อมรับ ‘ดอกเบี้ยขาขึ้น’

สำหรับประเทศไทย ถ้าดูจากการคาดการณ์ของทุก ๆ คน ก็คาดการณ์ประเด็นสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย คือ การมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทย (6-10 ล้านคน) ถ้าไม่สามารถทำได้ เกิดจากปัจจัยอะไร รวมถึงถ้าหากเศรษฐกิจโลกฝืดเคืองกว่าเดิม ก็จะส่งผลทบโดยตรงต่อการคาดการณ์ของเศรษฐกิจไทยได้

“สหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ย สะเทือนต้นทุนธุรกิจ” ตอนนี้เงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 4% เพราะฉะนั้นจะต้องมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะถ้าหากขึ้นกระชากแรง จะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงเกินกว่าที่คาดได้ ดูจากสถิติจะเห็นว่า ดอกเบี้ยระยะยาวของอเมริกามีความสัมพันธ์ทางสถิติสูงมาก กับดอกเบี้ยระยะยาวของประเทศไทย ประมาณ 70% – 80% เงินเฟ้อไทยยังไม่สูง (แต่มีโอกาสสูง) อยากให้เงินเฟ้อสูงแบบ Demand-pull คือ เศรษฐกิจที่ดีมาก ความต้องการของคนเยอะ ยกตัวอย่างอเมริกา คือ มีส่วนของ Demand-pull อยู่ไม่น้อย แต่ของประเทศไทยที่น่าเป็นห่วงเลย คือ Cost-push (ต้นทุนแพง) เช่น เมื่อธนาคารสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยเยอะ ทำให้ส่วนต่างของดอกเบี้ยประเทศไทยและสหรัฐฯ สูง ก็จะมีเงินไหลออกทำให้บาทอ่อน ฉะนั้นสินค้าส่งออก อย่างเช่น ข้าวมีราคาที่แพงขึ้น (เมื่อคิดเป็นเงินบาท) เพราะเมื่อขายของที่ต่างประเทศได้ดี ในราคาที่สูง ราคาในประเทศไทยก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย  หรือน้ำมันที่ต้องนำเข้ามา สิ่งที่จะเกิดขึ้นมีความเสี่ยง เพราะถ้าหากอเมริกามีเงินเฟ้อมาก ๆ ต้องขึ้นดอกเบี้ยมาก ๆ ในที่สุดก็จะทำให้ประเทศไทยมีเงินเฟ้อด้วย จาก Cost-push เป็นหลัก

ดอกเบี้ยระยะยาวจะขยับขึ้น ส่วนดอกเบี้ยระยะสั้นอ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ธปท. มีความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยขึ้น และปัญหาที่เกิดจากผลกระทบเศรษฐกิจยุคโควิด 19 ส่งผลให้หลายคนมีปัญหาเรื่องหนี้และภาระ หากดอกเบี้ยขึ้น ในขณะนี้กลุ่มคนบางส่วนที่ยังไม่สามารถหางานประจำทำได้ก็จะเป็นเรื่องใหม่ที่ไทยต้องแก้ไข

หรือการแก้ไขเศรษฐกิจไทย ต้องเป็นการเลือกรัฐบาลชุดใหม่เท่านั้น

ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ควรปรับปรุงตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดโควิด 19 คือ ประชากรสูงอายุ  แรงงานขาดแคลน พลังงานขาดแคลน (ก๊าซในอ่าวไทยลดน้อยลง) อุตสาหกรรมยานยนต์ และภาคการเกษตรที่มีผลผลิตต่ำ รวมถึงการส่งออกข้าวที่ลดลงเรื่อย ๆ เมื่อไม่ได้รับการแก้ไข ในขณะเดียวกันก็ไม่มีที่พึ่งพา เช่น การท่องเที่ยว จึงไม่เหลือสิ่งที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปได้ ดังนั้น การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยที่จะสามารถตอบโจทย์ประชาชนได้ ทันท่วงทีและมีรูปธรรม “การเลือกตั้ง” ที่ถือเป็นวิธีคืนอำนาจให้กับประชาชนและเป็นการกระตุ้นให้พรรคการเมืองต้องนำเสนอแผนการแก้ไขปัญหาโครงสร้างทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เพราะประชาชนทุกคนคาดหวังกับอนาคตของตนเองว่ารัฐบาลจะช่วยสร้างอนาคตให้ได้อย่างไร

About author

เป็นนักการตลาดออนไลน์ เสพติดข่าวสาร กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจโลกและแวดวงอสังหาฯ เชื่อว่าเรื่องราวที่ได้รู้มีบทเรียนชีวิตแฝงอยู่ให้เราเสมอ

หมวดหมู่