top

ประชาสัมพันธ์

ประชาสัมพันธ์ ข่าวเศรษฐกิจ “อาคเนย์ประกันภัย” ตัดสินใจปิดกิจการ ชี้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดกับผู้ที่มีส่วนได้-เสียทุกฝ่าย
“อาคเนย์ประกันภัย” ตัดสินใจปิดกิจการ ชี้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดกับผู้ที่มีส่วนได้-เสียทุกฝ่าย

ในผลกระทบแง่เศรษฐกิจต้องยอมรับว่าบริษัทประกันภัยได้รับผลกระทบสูงสุด จากกรณี ‘เจอ จ่าย จบ’ ของบริษัทอาคเนย์ ที่กำลังยื่นคำร้องขอปิดกิจการเร็ว ๆ นี้


มติบอร์ด ‘เครือไทยโฮลดิ้งส์’ (TGH) เลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ ‘อาคเนย์ประกันภัย’ ยกเลิกกรมธรรม์ 10.48 ล้านราย (ผู้ถือกรมธรรม์โควิด-19 1.85 ล้านราย และผู้ถือกรมธรรม์ประเภทอื่น 8.62 ล้านราย) ส่งผลหุ้นร่วงหนัก ให้เหตุผลว่าสถานการณ์โควิด-19 การแก้ไขปัญหาประกันด้วยการเพิ่มทุนหรือขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อใช้ในกิจการของอาคเนย์ประกันภัย อาจไม่สามารถทำได้ คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ได้สนับสนุนด้านการเงินกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อช่วยพยุงธุรกิจ รวมกลุ่มบริษัทประกันภัยของบริษัท 9,000 ล้านบาท บอร์ดของบริษัทเครือไทยโฮลดิ้งส์ พิจารณาถ้าดำเนินกิจการต่อไป จะส่งผลให้เกิดการดำเนินการที่ขาดความเหมาะสมจะทำธุรกิจต่อ สู่การถูกเพิกถอนใบอนุญาตในที่สุด

เครือไทย โฮลดิ้งส์ เห็นชอบแผนยกเลิกธุรกิจ “อาคเนย์ประกันภัย”

เมื่อเปรียบเทียบกับการขอเลิกกิจการโดยสมัครใจแล้ว มีข้อพิจารณาที่เล็งเห็นว่าการขอเลิกกิจการเองเป็นทางเลือกที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ที่มีส่วนได้-เสียทุกฝ่าย ดังนั้น จึงมีมติขอเลิกกิจการเกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการของบริษัทขอให้สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พิจารณาให้กองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้มีอำนาจในการดำเนินการคืนเบี้ยประกันให้กับผู้ประกันภัยทุกราย ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่อาคเนย์ประกันภัยยังมีภาระผูกพันธ์ตามกรมธรรม์

โดยให้กองทุนประกันวินาศภัยจัดหาผู้ประกันภัยรายใหม่ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกองทุนประกันวินาศภัย โดยอาคเนย์ประกันภัยเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ ในการดำเนินการของกองทุนประกันวินาศภัย ซึ่งผู้ถือกรมธรรม์เองก็จะได้รับการคืนเบี้ยประกันตามสัดส่วน คุ้มครองต่อเนื่อง หากมีการย้ายไปทำกับบริษัทประกันภัยอื่น

(1) กรมธรรม์ที่ยังมีอายุอยู่จะประสานให้บริษัทประกันอื่นเข้ามารับ คืนเงินที่เหลือในสัดส่วนเวลาตามกำหนด (และให้ซื้อประกันกับเจ้าอื่นแทน) (2) บทบาทของกองทุนประกันวินาศภัย เพียงแตกต่างกันตามความเป็นธรรม ผ่านมาได้เคลมจ่ายไปเรียบร้อยแล้ว แต่หลังจากนี้จะไม่มีการจ่ายต่ออีก (ให้กองทุนดูแลต่อไป)

นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการบริหาร TGH กล่าวว่า  “คู่ค้า เช่น อู่ซ่อมรถ, โรงพยาบาล, ตัวแทนของอาคเนย์ประกันภัย กว่า 9,000 ราย จะได้รับเงินชำระอย่างครบถ้วน หากอาคเนย์ยังมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้” ซึ่งในปัจจุบันยังมีการอ้างอิงว่าธุรกิจยังสามารถจ่ายเงินให้กับผู้ประกันภัยได้ครบถ้วนทุกราย และมีเงินเหลือเพื่อชำระหนี้ให้คู่ค้าทั้งหมด รวมไปถึงพนักงาน ลูกจ้า 1,396 คน แต่ถ้ายังเปิดทำการต่อจะส่งผลถึงความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลง

ซึ่งขณะนี้สถานะทางการเงินของอาคเนย์ประกันภัยมีสินทรัพย์สุทธิกว่า 1,800 ล้านบาท และเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย อยู่ที่ 170% สูงกว่าเกณฑ์ที่ คปภ.กำหนดไว้ที่ 120% ในเวลาต่อมาคปภ. ได้ออกมาชี้แจงว่าบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เลิกกิจการ หมายความว่า “ทุกกรมธรรม์ ยังได้รับความคุ้มครอง” เพียงอยู่ในขั้นตอนยื่นคำขออนุญาตเลิกกิจการ เพื่อให้บอร์ดคปภ. พิจารณา โดยได้รับการยืนยันในเวลาต่อมาว่าการพิจารณาจะดำเนินการเพื่อพิทักษประโยชน์ประชาชนผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ

ได้มีการชี้แจงอย่างชัดเจนจากคปภ. ว่ากองทุนวินาศภัยเป็นกองทุนนิติบุคคล มีจุดประสงค์คุ้มครองเจ้าหนี้ ซึ่งต้องได้รับการชำระหนี้จากการที่เอาประกันภัยในกรณีบริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาต ท่านอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะบริษัท ไม่ลามไปยังบริษัทประกันอื่น แต่มีความเป็นได้ว่าอาจกระทบต่อธุรกิจในห่วงโซ่ เช่น อู่ซ่อมรถ โรงพยาบาล ตัวแทนนายหน้า แล้วยังมีความเชื่อว่าบริษัทมีการวางแผนปิดจำนวนหนี้แน่นอน

ขณะเดียวกันเอง สถานการณ์การเคลมประกันโควิด-19 ดีขึ้น คือ จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นจากเดือนธันวาคม 2564 (ยอดเคลม 40,000 ล้านบาท) แต่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ อยู่ในระดับที่บริษัทประกันภัยเจ้าอื่นยังมีทุนสูง สามารถรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อได้ ส่วนบริษัทขนาดเล็กยังต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป

 

หมวดหมู่