หลายคนตั้งคำถามว่า ถ้าต้องเกิดสงครามขึ้นจริง ๆ ฝั่งไหนที่มีเจ้าหน้าที่ทหารหรืออาวุธมากก็ย่อมเป็นฝั่งที่ได้เปรียบ ซึ่งแน่นอนว่ายูเครนเป็นเมืองที่มีเล็กกว่า รัสเซียยังเป็นประเทศที่มีหัวรบนิวเคลียร์มากที่สุดในโลก 6,257 ลูก อีกทั้งมีกำลังทหารมากกว่าหลายเท่า แล้วแบบนี้ถ้าเกิดสงครามขึ้นจริง ๆ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกด้านไหนบ้าง สาระอสังหา วิเคราะห์สถานการณ์ดัชนีหุ้นและราคาน้ำมันโลก
ปมขัดแย้งระหว่างยูเครน-รัสเซีย
ย้อนกลับไปตั้งแต่ที่ยูเครนแยกตัวเป็นเอกราช ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ซึ่งยูเครนพยายามสลัดมรดกจากจักวรรดิรัสเซียแล้วหันมาเพิ่มพูนความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก นั่นทำให้ยูเคนและชาติตะวันตกสนิทสนมกันมากยิ่งขึ้น หลังจากวิกเตอร์ ยูชเชนโก ขึ้นครองตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2005 ตามมาด้วยนโยบายหลักที่มุ่งมั่นให้ยูเครนถอยห่างจากรัสเซีย และใกล้ชิดกับสหภาพยุโรปมากขึ้น รวมถึงผลักดันให้ยูเครนได้สมัครเป็นสมาชิก NATO ต่อมาในปี 2008 NATO ได้ให้สัญญากับยูเครนว่าสักวันยูเครนจะมีโอกาสเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ NATO อย่างเต็มตัว
ซึ่งการเป็นสมาชิก NATO นี้ ส่งผลให้รัสเซียเกิดความกังวล เพราะ NATO คือพันธมิตรทางการทหารที่สหรัฐอเมริกามีบทบาทสำคัญ (สหรัฐฯ เป็นไม้เบื่อไม้เมากับรัสเซียมาโดยตลอด) ส่วนยูเครนก็เปรียบเสมือนหลังบ้านของรัสเซีย นั่นจึงเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและกระทบต่อความมั่นคงของรัสเซียไปโดยปริยาย
อัปเดตสถานการณ์ปัจจุบัน สงครามรัสเซีย-ยูเครน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นสถานการณ์ที่ทั่วโลกต่างจับตามองว่าจะเกิดสงครามขึ้นจริง ๆ หรือไม่ คืบหน้าล่าสุด วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัวเซียได้ตัดสินใจประกาศสงคราม แล้วได้ส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางทหารเข้าไปทางสองเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ด้านตะวันออกของยูเครน พร้อมประกาศว่า ‘แม้ต้องมีการนองเลือด เกิดการปะทะกันระหว่างทหารจากทั้งสองฝ่ายก็เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้’ โดยไม่ได้สนใจข้อคัดค้านของประชาชนหรือรับฟังเสียงจากประชากรโลกแต่อย่างใด
ในปัจจุบันรัสเซียขึ้นกำลังทหารมากกว่า 100,000 นาย ประชิดชายแดนยูเครน ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2021 ทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งในยุโรปตะวันออกตึงเครียดอย่างมาก จนหลายฝ่ายกัลวลว่าความขัดแย้งในครั้งนี้อาจเป็นฉนวนชั้นดีที่ทำให้เกิดสงครามที่ส่งกระทบต่อหลาย ๆ ฝ่ายเป็นวงกว้าง
วิเคราะห์สถานการณ์ฝั่งผู้ลงทุน หลังรับผลกระทบเศรษฐกิจโลกจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ณ ขณะนี้ ทำให้ราคาหุ้นต่าง ๆ ค่อนข้างโหด ดังนั้นควรซื้อไว้ก่อน และนอกเหนือจากนี้ท้ายที่สุดแล้วอย่างไรหุ้นเหล่านี้ก็ต้องมีการปรับตัวขึ้น ฝั่งผู้เชี่ยวชาญบางส่วนก็พูดถึงกำลังซื้อที่มากขึ้นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ส่วนหนึ่งเกิดจากนักลงทุนขานรับมาตราการที่ทางสหรัฐอเมริกากำลังเดินหน้าปฏิบัติใช้กับทางรัสเซีย ซึ่งมาตราการที่ออกมานั้น จะเป็นมาตราการที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกน้อยที่สุด จึงสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนเดินหน้าลงทุนกันต่อไป แต่ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยที่น่ากลัวกว่าในวิกฤตเศรษฐกิจ นั่นคือ ‘สถานการณ์เงินเฟ้อ’ กับนโยบายทางการเงินของเฟดในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ราคาน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและสินทรัพย์ดิจิตอล
ราคาน้ำมันวันที่ 24. ก.พ. 65 ทำสถิติสูงนับตั้งแต่ปี 2014 (8ปี) โดยมีราคาปิดตลาดอยู่ที่ GOLD 1,898.20 / BRENT 99.40 / WTI 93.38 และยังต้องดูที่ราคาก๊าซธรรมชาติด้วย เพราะรัสเซียคือผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นอีก 6.5% รวมถึง Volume การซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิตอลบนแพลตฟอร์มปลายไตรมาสขยายตัวมากกว่า 67% เป็นเพราะความผันผวนของราคาดึงให้นักลงทุนรายย่อยหันเข้าไปลงทุนในช่วงเวลานี้
อย่างไรก็ตาม สาระอสังหา ยังคงติดตามสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน เพื่ออัปเดตความคืบหน้าและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจโลกให้ได้ทราบกันต่อไป
ภาพจาก : BBC NEWS