เงินบาทอ่อนค่า-แข็งค่าคืออะไร ใครได้ ใครเสียประโยชน์อย่างไร?
เป็นเรื่องปกติที่แต่ละประเทศใช้สกุลเงินแตกต่างกัน เช่น ไทยใช้เงินสกุลบาท อเมริกาใช้เงินสกุลดอลลาร์ เมื่อเราต้องการซื้อของที่ประเทศอเมริกา จำเป็นต้องนำเงินบาทไปแลกเป็นเงินสกุลดอลลาร์ก่อนจึงจะสามารถนำไปซื้อสินค้าได้ เพราะค่าเงินแต่ละสกุลจะมีค่าไม่เท่ากัน ทำให้มีการกำหนดอัตราการแลกเปลี่ยนขึ้น ซึ่งอัตราการแลกเปลี่ยนก็คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่ง เมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง โดยทั่วไปหากเงินสกุลไหนเป็นที่ต้องการมาก ๆ เงินสกุลนั้นต้องแพงขึ้น และขณะนี้หลายคนก็อาจได้ยินข่าวสารเศรษฐกิจไทยเกี่ยวกับ ‘เงินบาทอ่อนค่า’ สาระอสังหา จะถึงอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันที่ไทยต้องเจอเมื่อเงินบาทอ่อนค่า การที่เงินแข็ง-เงินอ่อนส่งผลกระทบอย่างไร
ค่าเงินบาทอ่อน-แข็ง ใครได้ ใครเสีย?
เงินบาทจะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเรานำไปแลกเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับค่าเงินที่แลกจะอ่อนหรือแข็งค่ามากกว่ากัน ซึ่งจะเป็นตามที่ว่า “ถ้าเงินบาทแข็งค่า แลกได้มากขึ้น แต่ถ้าอ่อนค่า จะแลกเงินสกุลอื่นได้น้อยลง” ในปัจจุบันสถานการณ์เศณษฐกิจเงินบาทไทยค่อนข้างอ่อนค่าลงเรื่อย ๆ เป็นเหตุผลมาจากหลาย ๆ สาเหตุตามสภาวะตลาด ดังนั้น เมื่อค่าเงินมีการผันผวนอยู่ตลอด ประชาชนกลุ่มใด อาชีพไหน ที่ต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์เงินบาทอ่อน – แข็ง
เงินบาทอ่อนค่า คืออะไร?
เงินบาทอ่อนค่า คือ การใช้เงินบาทจำนวนที่มากขึ้นในการแลกเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม
เงินบาทอ่อนค่า ใครได้ประโยชน์?
- ผู้ส่งออก
- ผู้ทำงานต่างประเทศ
- ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว
เงินบาทอ่อนค่า ใครเสียประโยชน์?
- ผู้นำเข้า เพิ่มต้นทุนการนำเข้าสินค้า เพราะราคาสินค้าจากต่างประเทศแพงขึ้น
- ประชาชน ซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศแพงขึ้น
- ผู้ลงทุน นำเข้าสินค้าทุนแพงขึ้น เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ
- ผู้เป็นหนี้ต่างประเทศ มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น เพราะใช้เงินบาทมากขึ้นในการชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ
เงินบาทแข็งค่า คืออะไร?
เงินบาทแข็ง คือ การใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเงินสกุลอื่นในจำนวนเท่าเดิม
เงินบาทแข็งค่า ใครได้ประโยชน์?
- ผู้นำเข้า ลดต้นทุนการนำเข้าสินค้า เพราะราคาสินค้าจากต่างประเทศถูกลง
- ประชาชน ซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศได้ถูกลง
- ผู้ลงทุน นำเค้าสินค้าได้ถูกลง เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ
- ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ มีภาระหนี้ลดลง เพราะใช้เงินบาทน้อยลงในการชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ
เงินแข็งค่า ใครเสียประโยชน์?
- ผู้ส่งออก
- ผู้ทำงานต่างประเทศ นำราย
- ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว
การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
- การทำสัญญาซื้อขายต่างประเทศล่วงหน้า
- การทำประกันค่าเงิน
- การเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ
- ทำข้อตกลงซื้อ ขาย ด้วยสกุลเงินท้องถิ่น
ในช่วงที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงจากความไม่แน่นอนของหลาย ๆ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ แนวโน้มเศรษฐกิจจีน ในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจที่มีการใช้สกุลเงินต่างประเทศสามารถปรับกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น และสิ่งที่ประชาชนทั่วไปต้องเตรียมรับมือคือการบริหารเงินให้ดี เพราะในสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าแบบนี้จะทำให้สินค้าหลาย ๆ อย่างแพงขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง