top

การเงิน-การลงทุน

การเงิน-การลงทุน สัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์เมื่อไหร่ หลักฐานแบบไหนใช้ฟ้องร้องต่อศาลได้?
สัญญากู้ยืมเงินสำคัญยังไง หลักฐานแบบไหนฟ้องศาลได้

เมื่อพูดถึงการให้ยืม การให้กู้ระหว่างกัน ก็จะสะท้อนให้เห็นถึงความมีน้ำใจ ความเชื่อใจกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนรอบข้าง ญาติ พี่ น้อง แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าภายใต้ข้อตกลงด้วยวาจา ในทางกฎหมายก็มีการบัญญัติรายละเอียดสัญญากู้ยืมเงิน สัญญายืม ไว้อย่างละเอียดเช่นเดียวกัน เพื่อป้องกันการผิดสัญญาด้วยวาจา และในกรณีเกิดข้อพิพาทขึ้น สาระอสังหา นำรายละเอียดของสัญญากู้ยืมเงินที่มีการทำบ่อยที่สุด และเกิดคดีขึ้นศาลมากที่สุด อธิบายเป็นพื้นฐานเผื่อกรณีต้องให้ใครกู้ยืมเงินในอนาคต ซึ่งเป็นวิธีที่ปกป้องทั้งเงินและสิทธิ์ตนเองได้ดี

ประเภทของสัญญายืม

1.สัญญายืมคงรูป หมายถึง การยืมของสิ่งใด จำเป็นต้องคืนของสิ่งนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว แต่ประเด็นสำคัญของการยืมลักษณะนี้ “ผู้ยืม” ไม่ต้องต่างตอบแทนใด ๆ ให้กับ “ผู้ให้ยืม” จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ส่งมอบทรัพย์สินคืน เช่น การยืมนาฬิกา รถยนต์ เป็นต้น

2.สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง หมายถึง ลักษณะการยืมสิ่งของที่ผู้ยืมนำไปใช้แล้วหมดไป เช่น ยืมเงินธนบัตร 100 บาท (จากเพื่อน) ซึ่งวิธีการคืนแน่นอนว่าต้องไม่ใช่ธนบัตรใบเดิม หรืออาจเป็นการโอนเงินจำนวนเดียวกันผ่านช่องทาง Mobile Banking แทน

สัญญากู้ยืมเงิน (Loan of Money)

สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองที่มีการใช้มากที่สุดคือ สัญญากู้ยืมเงิน เมื่อใดที่เป็นสัญญายืม ดังนั้น จะสัญญาจะสมบูรณ์ได้เมื่อส่งมอบเงิน แต่ปัญหาที่ตามมาในภายหลังที่มีกรณีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่มานั่นคือ การที่ผู้ยืมไม่ยอมชำระเงินคืน ส่งผลถึงการฟ้องร้องกันให้ชำระเงินคืน ซึ่งผู้ให้ยืมต้องทำความเข้าใจในส่วนของหลักฐาน เพราะศาลในฐานะผู้พิพากษามีความจำเป็นต้องใช้หลักฐานเพื่อยืนยันจำนวนเงิน สัญญาการยืมว่าเกิดขึ้นจริง โดยหลักเกณฑ์ และผลในทางกฎหมายของสัญญายืมเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษ ดังนี้

สัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญาที่หากต้องการฟ้องร้องต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือรายมือชื่อผู้ยืม (มาตรา653) กรณีกู้ยืมเงินจำนวน 2,000 บาทขึ้นไป และเนื่องด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แนวทางของศาลจึงต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น สื่อที่ใช้ในการพูดคุยผ่านช่องทาง Social Media ประกอบกับหลักฐานการโอนเงินก็สามารถใช้แทนหนังสือ แต่มีข้อแม้ว่าโจทย์รือผู้ฟ้องต้องพิสูจน์เบื้องต้นให้ได้ก่อนว่าบัญชีผู้ใช้งานที่มีการพูดคุยเป็นของจำเลยจริง ๆ

 

ตัวอย่างแชทยืมเงินที่ใช้เป็นหลักฐานสัญญากู้ยืมเงินและฟ้องร้องต่อศาลได้

หลักฐานหนังสือสัญญากู้ยืมเงินทำอย่างไร

หลักฐานต้องอยู่ในรูปแบบเอกสาร จดหมาย หรือหนังสือใด ๆ ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นมา โดยมีเนื้อหาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่กำกวม ระบุรายละเอียดชัดเจนว่าผู้กู้ได้รับเงินไป และจะใช้คืนในภายหลัง

  1. ผู้กู้ต้องลงลายมือชื่อกำกับในหนังสือด้วยตนเอง
  2. หนังสือไม่จำเป็นต้องทำสัญญาในขณะกู้ยืมเงิน สามารถทำหลังจากกู้ยืมเงินไปแล้วก็ได้
  3. บางกรณีสามารถใช้หลักฐานที่เกิดจากการบันทึกส่วนตัวโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น บันทึกประจำวันที่มีการกล่าวว่าเกิดการกู้ยืมเงินกันจริง โดยมีการลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมกำกับ
    3.1. หลักฐานการใช้เงินกู้คืน เมื่อการกู้ยืมเงินต้องมีหลักฐาน การใช้คืนเงินก็ต้องใช้หลักฐานด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันกรณีลืม หรือถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ให้กู้ที่กล่าวอ้างว่าผู้กู้ยังไม่คืนเงิน ถึงแม้แท้จริงแล้วจะได้ชำระคืนกันไปก่อนหน้านี้ จึงเป็นที่มาถึงการมีหลักฐานการใช้คืนเงิน ดังนี้
    – ใบเสร็จรับเงินคืน
    – เขียนหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเกี่ยวกับรายละเอียดการผ่อนชำระในแต่ละงวด

สัญญากู้ยืมเงินทั่วไป

ดาวน์โหลดสัญญากู้ยืมเงินทั่วไป :คลิก

ดาวน์โหลดสัญญากู้ยืมเงินทั่วไป (งวด) :คลิก

หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราดอกเบี้ย

ดอกเบี้ย คือ ค่าตอบแทนที่ผู้กู้ยืมเงินต้องจ่ายให้กับผู้ให้กู้ เป็นค่าตอบแทนเพื่อให้ตนได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากเงินที่ให้ยืมไป มาตรา 654 ระบุว่าสามารถคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี (ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน) หากเกินในอัตราที่กฎหมายกำหนดผลที่ตามมา คือ ดอกเบี้ยทั้งหมดจะถือเป็นจำนวนเงินโมฆะ แต่สัญญากู้ยืมเงินยังคงสมบูรณ์ (ไม่รวมกับการคิดดอกเบี้ยของธนาคาร) หรือในกรณีที่กำหนดไว้ว่าการกู้ยืมมีการคิดดอกเบี้ย แต่ไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่แน่ชัดให้ทราบ มาตรา 7 ระบุว่าให้ใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

สัญญากู้ยืมเงินหากมีการทำสัญญาขึ้นมาจะถือเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบเงินจากผู้ให้ยืมถึงมือผู้ยืม แต่หากจำนวนเงินมีมากกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ก็ควรทำหลักฐานลักษณะที่ลงรายมือชื่อไว้เผื่อกรณีผิดนัดชำระคืน จึงจะสามารถใช้เป็นหลักฐานต่อชั้นศาลได้ รวมถึงการทำธุรกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สัญญานายหน้า สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาก่อสร้าง สัญญาเช่าที่ดิน ก็ควรศึกษารายละเอียด และทำสัญญากันอย่างรอบคอบเพื่อรักษาสิทธิ์ตนเอง

ส่วนอีกกรณีการเล่นแชร์เองก็เช่นกัน ทางกฎหมายระบุว่าแชร์ไม่ถือเป็นการกู้ยืมเงินตามมาตรา 650 จึงไม่สามารถทำสัญญาที่เป็นหนังสือหรือหลักฐานฟ้องร้องกันได้ (ถือเป็นการระดมทุน) แต่เป็นสัญญาที่เอกชนสามารถทำได้ โดยมีข้อแม้ว่าการระดมเงินต้องกำหนดว่าห้ามเกินจำนวนกี่คน เกินวงเงินกี่บาท เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นวงเงินที่ใหญ่จนเกินไป เป็นการพนัน

About author

เป็นนักการตลาดออนไลน์ เสพติดข่าวสาร กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจโลกและแวดวงอสังหาฯ เชื่อว่าเรื่องราวที่ได้รู้มีบทเรียนชีวิตแฝงอยู่ให้เราเสมอ

หมวดหมู่