top

การเงิน-การลงทุน

การเงิน-การลงทุน มีเงินเท่านี้ ลงทุนอะไรดี? กับ 3 วิธีลงทุนตามเทรนด์ฉบับปี 2022
3 วิธีลงทุนตามเทรนด์ฉบับปี 2022 เสี่ยงต่ำ กำไรดี ไม่มีเอ้าท์

มนุษย์เงินเดือน พนักงานประจำ ข้าราชการ หรือทำอาชีพอิสระอื่น ๆ ที่กำลังศึกษาและวางแผนสำหรับการลงทุน แต่ยังชั่งใจอยู่ ไม่รู้ว่าจะลงทุนในลักษณะไหนที่สอดคล้องกับรายได้ที่ไม่สูงนักเพื่อรับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ลงทุนอะไรดี วันนี้ สาระอสังหา แชร์ 3 วิธีลงทุนที่คัดสรรมาเรียงจากวิธีที่ใช้เงินลงทุนก้อนใหญ่ไปจนถึงการลงทุนด้วยวิธีที่ใช้งบตั้งต้นไม่มาก และลงทุนไม่ยาก เพื่อสร้างความเข้าใจถึงการลงทุนแต่ละรูปแบบ หากไม่อยากพลาดต้องติดตาม

3 วิธีลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ ไปจนถึงวิธีง่าย ๆ งบตั้งต้นไม่มาก – ลงทุนไม่ยาก ลงทุนอะไรดี

1.ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ซื้อมา-ขายไป ลงทุนบ้านเช่า

ลงทุนอะไรดี เลือกลงทุนอสังหาริมทรัพย์แบบซื้อมา ขายไป ลงทุนบ้านเช่า

 

เป็นลักษณะการลงทุนที่มีมานาน แต่ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน นั่นเพราะอสังหาริมทรัพย์เป็นสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน หรือทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด สวนทางกับความต้องการของมนุษย์ที่หันมาลงทุนด้านนี้เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน ดังนั้น ไม่ว่านายหน้าหรือนักลงทุนคนไหนต่างก็ต้องการและแสวงหาทรัพย์ทำเลดีมีมูลค่าสูง (เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาอสังหาฯ สูงขึ้น) อีกทั้งยังช่วยสร้างรายรับ (Passive Income) ให้กับผู้ลงทุนด้วยผลตอบแทนที่ดีเลยทีเดียว แต่ในความเป็นจริงต้องทำความเข้าใจว่าไม่มีการลงทุนไหนที่ปราศจากความเสี่ยง ซึ่งการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

(1) ลงทุนอสังหาริมทรัพย์แบบปล่อยเช่า

(2) ลงทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการซื้อ-ขาย และรับกำไร

ยกตัวอย่างเช่น กู้เงินซื้อคอนโดฯ ในราคา 1.5 ล้านบาท ปล่อยให้เช่ารายเดือน 7,000 บาท และในขณะเดียวกันต้องผ่อนธนาคารเดือนละ 8,000 บาท หมายความว่าในแต่ละเดือนที่มีผู้เช่า อย่างไรก็ต้องหาเงินเพิ่มอีกเดือนละ 1,000 บาท ดังนั้น การลงทุนที่ไม่สร้างรายรับเพิ่ม อีกทั้งยังต้องใช้เงินส่วนตัวหรือหามาเพิ่มเพื่อผ่อนส่งธนาคาร อาจไม่ใช่วิธีการลงทุนที่ดีหรือเหมาะกับเรามากนัก
จึงเกิดคำถามต่อมาว่าท้ายที่สุดแล้วเราควรลงทุนอะไรดี ต้องกล่าวว่าการลงทุนอสังหาฯ ควรคำนึงถึงราคาต้นทุนของทรัพย์และส่วนที่เราต้องรับรายได้ เพราะการลงทุนที่ดีควรเลือกสินทรัพย์ที่สามารถสร้างกระแสเงินสดเป็นบวก (Cash Flow) ให้ตั้งแต่แรก ดังนั้น หากคิดอยากการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต้องศึกษาแนวคิดและวิธีที่ถูกต้องเหมาะกับตัวเรานั่นเอง

2.ฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง (บัญชีดิจิทัล)

ลงทุนอะไรดี ลงทุนด้วยการฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง (บัญชีดิจิทัล)

 

เป็นวิธีที่นำเงินออมที่เก็บเพิ่มได้แต่ละเดือน อาจเป็นจำนวนที่น้อยหรือมากกว่า 1,000 บาท นำไปฝากในบัญชีดิจิทัลหรือบัญชีออนไลน์ บัญชี e-Saving ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่มีสมุดคู่ฝาก (รูปแบบบัญชีออมทรัพย์) การฝาก-ถอนเงินครั้งละจำนวนมาก-น้อย เวลาไหนขึ้นอยู่กับเรา และที่สำคัญไม่มีเงื่อนไขอีกด้วย ซึ่งการออมรูปแบบนี้จะมีดอกเบี้ยที่สูงกว่าแบบมีสมุด (Book Bank) รู้ก่อนเลือก ลงทุนอะไรดี สาระอสังหา มี 5 อันดับธนาคารให้ดอกเบี้ยสูงอัปเดตล่าสุดปี 2022 มาฝาก ดังนี้

(1) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ชิลดี (CIMB THAI) กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได สูงสุดอยู่ที่ 2.00% ต่อปี ต่ำสุดเมื่อเงินฝากมีจำนวน 1 แสนบาท ได้รับอีตราดอกเบี้ย 0.20% ต่อปี โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยให้ลูกค้าทุกเดือน / บัญชีออมทรัพย์ TISCO My Savings (TISCO) กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเช่นเดียวกัน สูงสุดอยู่ที่ 2.00% ต่อปี เริ่มให้ดอกเบี้ยวงเงินฝากตั้งแต่ 0 – 1 ล้านบาท / บัญชีออมทรัพย์ KKP Start Savings (Truemoney X KIATNAKINPHATRA) ดอกเบี้ยอยู่ที่ 2% ต่อปี มีการจ่ายให้มีละ 2 ครั้ง เดือน มิ.ย. และธ.ค.

(2) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ KKP Savvy (ธนาคารเกียรตินาคินภัทร) อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 1.6% ต่อปี สำหรับเงินฝากตั้งแต่ 1ล้าน – 2 ล้านบาทขึ้นไป ส่วนที่เกิน 2 ล้านบาทจะได้รับดอกเบี้ย 0.50% ต่อปี หรือมีเงินฝากตั้งแต่ 10,000 – 1 ล้านบาท มีอัตราดอกเบี้ยที่ 1.5% ต่อปี สุดท้ายถ้าหากเมื่อไหร่ที่มีเงินฝากน้อยกว่า 10,000 บาท จะได้รับอัตราดอกเบี้ยลดลงมาอยู่ที่ 0.50% ต่อปีเช่นเดียวกัน

(3) บัญชี Grow Saving (Kept By Krungsri) อัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ตั้งแต่ฝาก 1 บาทแรก – 5 ล้านบาท แต่มีข้อแม้ว่าการฝากแต่ละครั้งต้องไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท / บัญชีกรุงศรีมีแต่ได้ (แบบออนไลน์) อัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ตั้งแต่ฝาก 1 บาทแรก – 1 แสนบาท หากมียอดเกิน 1 แสนบาทได้รับดอกเบี้ยที่ 1% ต่อปี และมีการจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน / บัญชี K- eSaving (กสิกรไทย) อัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ตั้งแต่ฝาก 1 บาทแรก – 1 แสนบาท หากมียอดเกิน 1 แสนบาทได้รับดอกเบี้ยที่ 0.5% ต่อปี โดยจะมีการจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง คือ ม.ย. และ ธ.ค. / บัญชี เงินฝากออมทรัพย์ อีซี่ หรือ EZSavings Account (SCB) อัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ตั้งแต่ฝาก 1 บาทแรก – 2 ล้านบาท หากมียอดเกิน 2 ล้านบาทขึ้นไป ได้ดอกเบี้ยที่ 0.5% ต่อปี / บัญชี Krungthai NEXT Savings อัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ตั้งแต่ฝาก 1 บาทแรก – 1 ล้านบาท หากมียอดเกิน 1 ล้านบาทขึ้นไป ได้ดอกเบี้ยที่ 0.5% ต่อปี โดยมีการจ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี เดือน มิ.ย. และ ธ.ค. / บัญชี เงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัล โปร-ฟิต (LH Bank) อัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ตั้งแต่ฝาก 1 บาทแรก – 5 ล้านบาท หากมียอดเกิน 5 ล้านบาทขึ้นไป ได้ดอกเบี้ยที่ 0.25% ต่อปี จ่าย 2 ครั้งต่อปีมิ.ย. และ ธ.ค. / บัญี เงินฝาก GHB ALL Savings (ธอส.) อัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี สำหรับจำนวนเงินคงเหลือไม่เกิน 1 ล้านบาท จ่าย 2 ครั้งต่อปี คือ มิ.ย. และ ธ.ค.

(4) บัญชี TMRW saving (UOB) อัตราดอกเบี้ย 1.3% ต่อปี ตั้งแต่ฝาก 1 บาทแรก – 1 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยให้ทุกเดือน และที่สำคัญหากบัญชีมีเงินฝากครบ 1 ล้านบาท จะได้รับดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.25% ต่อปี

(5) บัญชี ทีทีบี มีเซฟ (TTB ME Save) อัตราดอกเบี้ย 1.1% ต่อปี ตั้งแต่ฝาก 1 บาทแรก – 10 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีจำนวนเงินที่ฝากเข้ามามากกว่าจำนวนเงินที่ถอนออกไปในแต่ละเดือน ซึ่งธนาคารมีกำหนดจ่ายดอกเบี้ย 2 ครั้งต่อปี คือ มิ.ย. และ ธ.ค.

3.กองทุนตราสารหนี้สำหรับผู้ที่อยากลงทุนบนความเสี่ยงต่ำ

ลงทุนอะไรดี ลงทุนด้วยกองทุนตราสารหนี้

 

ตราสารหนี้ เป็นตราสารทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ผู้ออกตราสารหนี้ขายให้ประชาชนทั่วไป เมื่อไหร่ก็ตามที่ได้ลงทุนซื้อตราสารหนี้มา เมื่อนั้นสถานะของผู้ซื้อจะเปลี่ยนเป็น ‘เจ้าหนี้’ กลับกันผู้ที่ออกตราสารจะอยู่ในสถานะเป็น ‘ลูกหนี้’ ทันที ซึ่งลูกหนี้มีหน้าที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย นั่นจึงเป็นการรับผลตอบแทนในฐานะผู้ลงทุน โดยตราสารหนี้จะถูกแบ่งออกตามระยะสัญญาได้ 2 ประเภท ได้แก่

(1) ตราสารหนี้ระยะสั้น อายุตราสารไม่เกิน 1 ปี

(2) ตราสารหนี้ระยะยาว อายุตราสารเกิน 1 ปี

ตราสารหนี้ข้างต้นทั้ง 2 ประเภทจะมีความเสี่ยงและให้ผลตอบแทนที่คาดหวังได้แตกต่างกัน เช่น ตราสารหนี้ระยะสั้น มีอายุไม่เกิน 1 ปี ได้รับเงินไวกว่า 1 วันถัดไปได้รับเงินเลย (T+1) ส่งผลให้สภาพคล่องสูงภายใต้ความเสี่ยงต่ำ
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งตราสารหนี้ได้อีก 2 ประเภท อ้างอิงจากผู้ที่ออกตราสาร ได้แก่

(1) พันธบัตรรัฐบาล ออกโดยรัฐบาล ความเสี่ยงต่ำ

(2) หุ้นกู้ที่ออกโดยเอกชน ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนมาก

และที่สำคัญที่สุดสำหรับการลงทุนตราสารหนี้ นั่นคือ Credit Rating ที่เป็นการประเมินความน่าเชื่อถือผู้ออกตราสารหนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน โดย ‘สถานบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือ Credit Rating Agencies’ ซึ่งรับรองจากสำนักงานหลักทรัพย์และก.ล.ต. และในประเทศไทยมีอยู่ 2 แห่ง คือ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด แบ่ง 3 เกณฑ์เพื่อเป็นข้อพิจารณาในการเลือกวิธีลงทุน ดังนี้

(1) กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นหรือระยะยาว

(2) กองทุนประเภทไหน หุ้นกู้หรือพันธบัตรรัฐบาล

(3) Credit Rating
ยกตัวอย่างเช่น กองทุนตราสารหนี้นะยะสั้น K-SF มีอายุตราสารไม่เกิน 1 ปี วันที่ได้รับเงิน T+1 สัดส่วนการลงทุนมีจำนวนเงินฝากอยู่ที่ 47.98%, พันธบัตรรัฐบาล 45.86%, หุ้นกู้บริษัทเอกชน 5.46%, หุ้นกู้สถาบันการเงิน 0.7% และผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี คือ 0.35%

 

การลงทุนทั้ง 3 รูปแบบข้างต้นที่ สาระอสังหา นำมาฝากในวันนี้ เป็นสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกันออกไป เรียงลำดับจากการใช้เงินก้อนใหญ่สู่การลงทุนที่ใช้งบเริ่มต้นน้อย สุดท้ายก็ต้องย้อนกลับไปตอบคำถามเพื่อไขข้อข้องใจให้คนอยากลงทุน ลงทุนอะไรดี การลงทุนที่ดีไม่ใช่การลงทุนที่เราได้รับผลตอบแทนมากที่สุด แต่การลงทุกที่ดีที่สุด คือ การลงทุนที่เราได้ทำความเข้าใจและสามารถประเมินความเสี่ยงได้ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดส่วนบุคคล แต่ต้องไม่ลืมที่จะเก็บออมเงินด้วยวิธีเก็บเงินที่ดีก่อนการลงทุน และศึกษาข้อมูลการลงทุนเพิ่มเติมเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอเพราะอย่างไรแล้วไม่มีการลงทุนไหนที่ไม่มีความเสี่ยงนั่นเอง

หมวดหมู่