อัปเดตมาตรการ LTV 2566 กู้ซื้อบ้านปีนี้ต้องมีเงินดาวน์
กลับเข้าสู่สถานการณ์ (เกือบ) ปกติ หลังทั่วโลกต้องเผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เปิดปีเถาะ พ.ศ. 2566 มาด้วยสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวที่ทยอยเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเรื่องดีที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและกระจายเม็ดเงินให้หมุนเวียนภายในประเทศได้เป็นอย่างมาก เมื่อหลาย ๆ อย่างมีแนวโน้มดีขึ้น จึงเกิดความสมเหตุสมผลให้ภาครัฐฯ ตัดสินใจไม่ต่อมาตรการช่วยเหลือประชาชน ยกตัวอย่างมาตรการในภาคอสังหาฯ เช่น มาตรการ LTV 2566 ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและปรับความเสี่ยงในระบบการเงิน
สาระอสังหา ยกมาตรการ LTV ให้กู้เพิ่ม 10% อธิบายเพิ่มเติม เมื่อยกเลิกการผ่อนปรนมาตรการ LTV 2565 ไปแล้ว หากวางแผนซื้อบ้านในปีพ.ศ. 2566 ต้องเตรียมตัวอย่างไร ซื้อบ้านหลังที่หนึ่ง บ้านหลังที่สองขึ้นไป ทำความเข้าใจและวางแผนการเงินให้ลงตัว
มาตรการ LTV คืออะไร
มาตรการ LTV คือ (Loan To Value) เป็นมาตรการภาคบังคับให้คนที่ต้องการกู้ซื้อบ้าน ต้องมีเงินดาวน์อย่างน้อย 10% เพื่อให้กู้ผ่าน บังคับใช้มาตั้งแต่พ.ศ. 2562 เพื่อป้องกันนายหน้าอสังหาฯ เข้ามาเกร็งกำไรมากเกินกว่าเหตุ จึงมีมาตรการนี้ออกมาเพื่อลดความดุเดือดของวงการอสังหาริมทรัพย์
ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 จากปีก่อนหน้า ธนาคารแห่งประเทศไทยเล็งเห็นถึงสัญญาณของการชะลอตัวภาคอสังหาริมทรัพย์ จึงมีการประกาศผ่อนปรนมาตรการนี้ออกไปชั่วคราว เป็นเหตุเป็นผลให้ 2 ปี ภาคอสังหาฯ ยังมีกำลังสู้ในปีที่ผ่านมา แต่ก่อนหมดปี พ.ศ. 2565 มีการประเมินจาก ธอส. อีกครั้ง ปรากฏยอดโอนบ้านทั่วประเทศเพิ่มสูงถึง 95,000 ยูนิต มาตรการ LTV 2566 แบบเข้มข้นนี้ ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2566 (ไม่ต่อมาตรการผ่อนปรน LTV) โดยแบ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อบ้านในราคาต่ำกว่า 10 ลบ. (2) กลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อบ้านราคาแพงมากกว่า 10 ลบ. ขึ้นไป
กรณีซื้อบ้าน คอนโดฯ ตามมาตรการ LTV 2566
เกณฑ์มาตรการ LTV กรณีมีผู้กู้ร่วม
จากการที่ ธปท. ออกมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) โดยมีจุดประสงค์ป้องกันหนี้เสีย แต่เกิดผลกระทบต่อผู้กู้ในกรณีกู้ร่วม ด้วยเหตุผลดังกล่าว เกิดเป็นอีกหนึ่งมาตรการซื้อบ้าน 2566 ธปท.ได้พิจารณาผ่อนปรนการนับสัญญากู้ร่วม โดยถ้าผู้กู้ไม่มีชื่อเป็นกรรมสิทธิ์ จะถือเป็นการผ่อนแบบไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัย แต่เป็นการช่วยเหลือกันภายในครอบครัวเท่านั้น
นอกจากมาตรการ LTV 2566 ที่กลับมาเข้มข้นเหมือนเดิมหลังรัฐฯ ไม่ต่อมาตรการผ่อนปรน อาจส่งผลกระทบต่อการปรับตัวและเตรียมความพร้อมด้านการเงินของผู้กู้สักเล็กน้อย ยังต้องมาให้ความสำคัญในเรื่องของการปรับขึ้นดอกเบี้ยบ้านอย่างต่อเนื่องจากหลาย ๆ ธนาคาร เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกจึงต้องปรับขึ้นให้คล้อยตามเพื่อรักษาสมดุลของเศรษฐกิจ เพื่อต่อสู้กับระดับเงินเฟ้อที่ปรับสูงสุดในรอบ 40 ปี และปีนี้คาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในประเทศไทยอีกหลายครั้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อดอกเบี้ยเงินกู้ที่อาจเพิ่มสูงขึ้นตาม
จะเห็นว่าภาครัฐฯ ยังให้ความสำคัญกับเรื่องที่อยู่อาศัย และโอกาสในการมีบ้านของประชาชน แต่ต้องปรับมาตรการให้สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจ ครั้งหน้าสาระอสังหาจะนำหัวข้อใดในแวดวงอสังหาฯ มาฝาก ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมการโอน – จดจำนอง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2566 ฯลฯ ติดตามที่นี่ https://สาระอสังหา.com