วางแผนผ่อนบ้านให้หมดไว ดอกเบี้ยไม่บาน แถมประหยัดอีกเป็นล้าน
หลายคนตั้งคำถามถึงการผ่อนบ้าน ปัญหาผ่อนนาน ผ่อนไม่หมดสักที เพราะส่วนใหญ่การจ่ายเท่าเดิมอาจเป็นการจ่าย “ดอกเบี้ย” เรื่อย ๆ แบบไม่รู้ตัว เช่นเดียวกับการย้ายค่าโทรศัพท์มือถือ เมื่อเห็นว่าโปรโมชันอีกค่ายดีกว่าค่ายเดิมที่ใช้งานอยู่ หากเป็นแบบนั้นเราก็ไม่มีเหตุผลให้ใช้บริการค่ายเดิมหรือจ่ายเงินแพง ๆ อีกต่อไป การเงิน การธนาคาร การผ่อนบ้าน เองก็เช่นกัน ใครก็ตามที่เป็นลูกค้าที่ดี มีประวัติสะอาด ไม่ผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารก็อยากให้บริการและรักษาลูกค้าที่เชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถจ่ายหนี้ต่อไปไหว ด้วยการจูงใจเรื่องการให้ดอกเบี้ยที่ต่ำหรือดีกว่า
สาเหตุที่ผ่อนบ้านนานแต่ไม่สามารถปลดหนี้ได้
ปกติการซื้อบ้านหรือคอนโดฯ จะมีโปรโมชันดอกเบี้ยต่ำใน 3 ปีแรกอยู่ที่ 2 – 3% (ผ่อนถูก) แน่นอนว่าหลังจากนั้นสัดส่วนเงินจะไม่เหมือนเดิม เมื่อเริ่มเข้าปีที่ 4 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยจะเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว (Floating Rate) ซึ่งหลายคนที่ยังไม่ทันสังเกต โดยจ่ายไปในราคาเท่าเดิม แต่หารู้ไม่ว่า เงินที่จ่ายออกไปส่วนใหญ่เป็นการจ่ายดอกเบี้ยแทน และทบเงินต้นจำนวนที่น้อยกว่าดอก
ผ่อนบ้านหมดไว ด้วยวิธีปลดหนี้จากการรีไฟแนนซ์ Vs รีเทนชัน
1.รีไฟแนนซ์บ้าน คือ (Refinance)
ก่อนอื่นต้องทราบว่าสัญญาเก่ามีกำหนดการรีไฟแนนซ์ได้หลังจากการผ่อนบ้านไปแล้วกี่ปี ซึ่งปกติโปรโมชันในช่วง 3 ปีแรก ผู้กู้จะได้รับดอกเบี้ยพิเศษ แต่เมื่อเริ่มเข้าปีที่ 4 ดอกเบี้ยจะเป็นชนิด MLR (Minimum Loan Rate) ส่งผลให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น ส่วนเงินต้นจะทบน้อยลง และหากทำการผ่อนบ้านรูปแบบเดิมต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่ทำการรีไฟแนนซ์ อาจทำให้เสียดอกเบี้ยรวมเบ็ดเสร็จตลอดทั้งสัญญามากขึ้น ตัวอย่าง กรณีผ่อนบ้าน 30 ปี ดอกเบี้ยตกที่ 1.5 เท่าของเงินต้น เช่น กู้ซื้อบ้านในราคา 2,000,000 ล้านบาท (ดอกเบี้ย 1.5 เท่า) รวมทั้งหมด 3,000,000 ล้านบาท = 5,000,000 ล้านบาท
หากมีการรีไฟแนนซ์ทุก ๆ 3 ปี จะช่วยปรับดอกเบี้ยจากปกติที่ต้องจ่าย MLR ในปีที่ 4 กลายเป็นดอกเบี้ยการรีไฟแนนซ์ 2 – 3% เพราะเกิดการแข่งขันระหว่างธนาคารเพื่อแย่งลูกค้าคุณภาพที่มีประวัติการผ่อนชำระที่ดี อาจช่วยให้การผ่อนจากเดิม นาน 30 ปี เหลือเพียง 20 ปีได้ (ประหยัด 10 ปี) ตัวอย่าง ผ่อนธนาคาร 22,000 บาท/เดือน (22,000 X 12 = ประหยัดปีละ 264,000 บาท ) ดังนั้น 10 ปี จะประหยัดเงินจำนวน 2,640,000 ล้านบาท
รีไฟแนนซ์ขณะที่ผ่อนบ้านยังไม่ครบ 3 ปี แต่ต้องการจ่ายดอกเบี้ย จ่ายเงินส่วนตัวในช่วงนี้ให้คุ้มค่าที่สุด คือ การนำเงินมาโปะ เช่น ผ่อนบ้าน 17,000 บาท/เดือน หากสามารถจ่ายเพิ่มได้สูงสุด 30,000 บาท/เดือน อาจทำให้ประหยัดดอกเบี้ยได้ประมาณ 1,400,000 ล้านบาท ช่วยให้ผ่อนบ้านได้ไวถึง 10 ปี แล้ะได้เป็นเจ้าของบ้านไวขึ้น
ซึ่งแต่ละธนาคารก็มีเงื่อนไขดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่ไม่เท่ากัน ศึกษาได้ที่ WWW.refinn.com เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลอัตราดอกเบี้ย ช่วยค้นหาโปรโมชันรีไฟแนนซ์ที่ประหยัดที่สุด 15 ธนาคารชั้นนำ ธนาคารไหนให้ดอกเบี้ยดีและตัดเงินต้นได้มากที่สุด (ไม่เก็บค่าบริการ)
2.การรีเทนชัน (Reteneion)
วิธีนี้มีความแตกต่างจากการรีไฟแนนซ์ เพราะ เป็นการทำสัญญาร่วมกับธนาคารเดิม ไม่มีการย้ายธนาคาร เพียงเริ่มเข้าปีที่ 4 เมื่อดอกเบี้ยปรับเป็น MLR ต้องเข้าไปเจรจากับธนาคารเดิม บอกจุดประสงค์ถึงการเป็นลูกค้าเดิม (ประวัติการผ่อนชำระดี) และขอลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งดอกเบี้ยบ้านที่ได้ลดลงมาอาจไม่ได้เป็นจำนวนที่ต่ำกว่าจำนวนที่ได้จากการการรีไฟแนนซ์ แต่วิธีนี้สะดวกกับผู้ที่ยอมเสียดอกเบี้ยเพื่อหลีกเลี่ยงความซับซ้อน หรือต้องเสียเวลายื่นเอกสารขอรีไฟแนนซ์ใหม่เหมือนการขอสินเชื่อบ้านครั้งแรก
การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่การเป็นหนี้กลับช่วยเรื่องการใช้จ่ายและบริหารเงินรูปแบบหนึ่ง เพื่อไม่ให้การใช้จ่ายเงินก้อนใหญ่มาส่งผลกระทบต่อชีวิตได้ แต่การบริหารหนี้ให้มีประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ควรศึกษาประเภทหนี้และการชำระหนี้ให้ดีก่อน ไม่ควรปล่อยให้หนี้ทำให้เราเสียโอกาสในการใช้เงินหรือจ่ายดอกเบี้ยแพง ๆ ไปแต่ไม่ได้อะไรกลับมา เรื่องการผ่อนบ้าน ดอกเบี้ยบ้าน สินเชื่อบ้าน หรือการบริหารจัดการหนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน นอกจากสร้างความรับผิดชอบแล้ว ยังบ่งบอกถึงเครดิตของผู้กู้อีกด้วย