top

การเงิน-การลงทุน

การเงิน-การลงทุน ดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% กระทบเศรษฐกิจและประชาชนอย่างไร?
ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายกระทบใคร

หากติดตามข่าวสารอยู่จะรู้ว่าทั่วโลกกำลังประสบปัญหาในเรื่องของเงินเฟ้อ ธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น และผู้คนจำนวนไม่น้อยก็ยังมีข้อสงสัยที่ว่า “ดอกเบี้ย” เกี่ยวข้องกับ “เงินเฟ้อ” อย่างไร ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปีเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการขึ้นดอกเบี้ยในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่ พ.ค. 63 (0.75% ต่อปี) ความสัมพันธ์ระหว่างดอกเบี้ยนโยบายและเงินเฟ้อเป็นอย่างไร กระทบโดยตรงต่อภาระหนี้ครัวเรือนมาก-น้อยเท่าไร สาระอสังหา อธิบายให้ทราบถึงผลกระทบและแนวทางการรับมือที่ช่วยจัดระเบียบการใช้จ่ายส่วนตัวได้

อัตราดอกเบี้ยนโยบายคือ?

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารพาณิชย์ที่นำเงินมาฝาก หรือธนาคารพาณิชย์ที่มากู้เงินจากธนาคารกลาง ซึ่งกำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์ก็จะปรับดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยเงินกู้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ไม่ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะต้องอ้างอิงต้นทุนดำเนินงาน ความต้องการเงินกู้ ปริมาณเงินฝาก ฯลฯ

การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร?

การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเปรียบเสมือนการเหยียบเบรก ชะลอเศรษฐกิจ เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น ผู้คนจะนำเงินออกมาใช้จ่าย บริโภค ลงทุนลดลง ธุรกิจต่าง ๆ มีแนวโน้มขยายกิจการน้อยลง มีความระมัดระวังมากขึ้น เพราะต้องเก็บเงินทุนสำรองกับดอกเบี้ยของค่าใช้จ่ายในอนาคต

เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 65 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 0.50% เป็น 0.75% แน่นอนว่าต้องกระทบกับหนี้ประเภทดอกเบี้ยแบบลอยตัวของหนี้บ้านและธุรกิจเป็นหลัก โดยตั้งแต่ต้นปี 2565 ทางการและสถาบันการเงินมีการดูแลการปรับดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อชะลอผลกระทบในกลุ่มเปราะบาง รวมถึงยังมีมาตรการแก้หนี้ระยะยาวผ่านมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างตรงจุดให้กับผุ้ประกอบธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันจะเห็นว่าหนี้ครัวเรือนกว่า 60% เป็นหนี้ประเภทดอกเบี้ยคงที่ เช่น ลูกหนี้รถและบัตรเครดิต ส่วนนี้จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยแบบคงที่ ดอกเบี้ยแบบลอยตัว

การปรับอัตราดอกเบี้ยกระทบต่อประชาชน

1.การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายกระทบการใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งการใช้จ่ายของประชาชนจะส่งผลต่อราคาสินค้าหรือบริการโดยรวมหรือที่เรียกว่า ‘อัตราเงินเฟ้อ’

2.ลูกหนี้บ้าน จะพบเจอกับสถานการณ์ที่ต้องจ่ายค่างวดรายเดือนเท่าเดิม แต่ใช้ระยะเวลาในการผ่อนนานมากขึ้น อาจต้องใช้การปรับตัวด้วยวิธีลดรายจ่าย เพิ่มรายรับ นำไปโปะหนี้ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ขอปรับโครงสร้างหนี้ให้ลดจำนวนการผ่อนต่องวดลง รวมถึงวิธีการรีไฟแนนซ์/รีเทนชันกับสถาบันการเงินเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยบ้านถูกลงก็สามารถทำได้

3.ลูกหนี้ธุรกิจ ได้รับผลกระทบเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยแบบลอยตัว อาจต้องใส่ใจในเรื่องรายได้และค่าใช้จ่ายของธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อบริหารจัดการลดต้นทุนพร้อมเพิ่มรายรับให้ได้ หรือหากเห็นว่าธุรกิจได้รับผลกระทบจนไม่สามารถบริหารจัดการได้อีกต่อไป ให้รีบสอบถามเจ้าหนี้เพื่อเจรจาตกลงปรับโครงสร้างหนี้

หมายเหตุ : ปกติสถาบันการเงินเจ้าหนี้จะมีการบวก “ค่าผ่อนเผื่อรองรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยอ้างอิง” ประมาณ 0.5-1% เมื่อดอกเบี้ยปรับขึ้นสูงกว่าค่าผ่อนที่เผื่อไว้ จะส่งผลให้ระยะเวลาในการผ่อนชำระนานขึ้น

สรุปการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% กระทบการจ่ายดอกเบี้ยบ้านอย่างไร?

สรุปการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย

 

การเก็บสถิติ MRR MLR MOR (%) ปีพ.ศ. 2544 – 2562จาก BOT และ TMB ทำให้สันนิษฐานได้ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจส่งผลต่อดอกเบี้ยเงินกู้ต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยมหาภาคที่ยากจะควบคุมได้ แต่สิ่งที่สามารถบริหารได้คือการจัดลำดับความสำคัญในการเคลียร์หนี้สินของตนเอง ดังนั้น ตรวจสอบหนี้สินและปิดหนี้ประเภทที่ดอกเบี้ยสูงก่อน หลังจากนั้นจึงมองเรื่องการปรับสัดส่วนการโปะชำระหนี้ให้หมดไวขึ้น

หมวดหมู่