top

การเงิน-การลงทุน

การเงิน-การลงทุน ต้องการเงินก้อน จำนอง หรือ ขายฝาก เลือกแบบไหนไม่เสี่ยงเสียทรัพย์
จำนอง-ขายฝากเหมือนหรือต่างอย่างไร

เหตุผลหลัก ๆ ที่ผู้คนนำที่ดิน บ้าน ไปขายฝากหรือจำนองก็เพื่อต้องการเงินนำไปลงทุน ชำระหนี้ หรือใช้จ่ายอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของบุคคล แต่หากเลือกได้ก็ไม่มีใครต้องการนำที่อยู่หรือทรัพย์ก้อนใหญ่ของตนเองไปขายฝากหรือจำนองให้เป็นหนี้สิน ดังนั้น ก่อนทำธุรกรรมต่าง ๆ ควรทำความเข้าใจถึงข้อดี – ข้อเสียอย่างรอบคอบ พิจารณาความพร้อมแล้วจึงนำไปปรับใช้ สาระอสังหา อธิบายความแตกต่างระหว่างการนำทรัพย์ไปจำนองและขายฝาก เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเสียทรัพย์

ความหมายของ “การจำนอง”

การจำนอง คือ การนำทรัพย์สินของตนเอง เช่น จำนองที่ดิน หรือทรัพย์ใดที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ ไปจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ โดยไม่ต้องส่งทรัพย์ให้กับผู้รับจำนอง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ไม่ตกเป็นของผู้รับจำนอง เพียงเป็นหลักประกันในการชำระหนี้เท่านั้น

ความหมายของ “การขายฝาก”

การขายฝาก คือ คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ผู้ขายฝาก และผู้รับซื้อฝาก ตกลงร่วมกันทำสัญญาขายฝากทรัพย์สิน โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที ณ วันที่จดทะเบียน มีเงื่อนไขว่าผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ถ้าหากไม่มาไถ่คืนตามกำหนดจะทำให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิในการไถ่คืนทันที (กรรมสิทธิในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด)

ปัจจุบันการขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย ได้มีกฎหมายออกมาคุ้มครองผู้ขายฝากให้ได้รับความเป็นธรรมากขึ้น มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. ผู้ขายฝากต้องเป็นบุคคลธรรมดา
  2. ที่ดินที่ขายฝากต้องเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยเท่านั้น
  3. ระยะเวลาขายฝากต้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี

จุดมุ่งหมายของการจำนองและการขายฝาก

ทั้งการขายฝากและการจำนองเป็นสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่า “เจ้าหนี้” และ “ลูกหนี้” เพื่อประกอบการกู้ยืมเงิน ซึ่งการขายฝากเป็นกรณีที่ลูกหนี้ขายฝากบ้านหรือที่ดินให้กับเจ้าหนี้ โดยลูกหนี้สามารถซื้อทรัพย์คืนได้ในระยะเวลาที่ตกลงร่วมกันไว้ ส่วนการจำนองจะเหมาะกับผู้ที่ต้องการกู้เงินแต่ไม่ต้องการขายทรัพย์สินที่จำนอง

ผลของการจำนอง Vs ผลของการขายฝาก

  • จำนอง สัญญาจำนอง จะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เป็นเพียงการนำเอกสารสิทธิไปจดทะเบียน เพื่อตราไว้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้เท่านั้น และในกรณีที่ผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนองเอง ก็ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สินได้ทันทีตามกฎหมาย เพราะทรัพย์สินนั้น ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองอยู่ ผู้จำนองต้องทำการฟ้องร้องตามขั้นตอนของกฎหมาย (ให้ศาลบังคับจำนอง)
  • ขายฝาก ผู้รับซื้อฝาก จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาล เมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้ ทางฝั่งผู้ขายฝาก มีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์ของตนคืนได้ ภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ และสามารถตกลงขยายระยะเวลาได้

ทรัพย์สินที่สามารถนำไปจำนองและขายฝากได้

ทรัพย์สินที่จำนองและขายฝากได้

ค่าใช้จ่ายการจำนองและการขายฝาก

 

เพื่อเป็นการรักษาสิทธิและประโยชน์ต่อตนเอง ควรทำการพิจารณาข้อแตกต่าง ข้อดี ข้อเสียให้ดีก่อนทำสัญญาใด ๆ หรือหากไม่มั่นใจในการทำธุรกรรม สามารถติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินในเขตพื้นที่หรือใกล้บ้าน เพราะการยอมสละเวลาเล็กน้อยเพื่อไขข้อข้องใจในสิ่งที่ไม่รู้ ย่อมดีกว่าการถูกหลอกให้เสียทรัพย์สิน ที่ดิน หรือบ้านที่มีมูลค่าสูง สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจำนองที่ดิน ขายฝากที่ดิน และรอบรู้เรื่องที่ดิน ที่นี่

 

หมวดหมู่