คำนวณผ่อนบ้านง่าย ๆ รายได้เท่านี้ ขอสินเชื่อบ้านได้วงเงินเท่าไหร่
เติมเต็มความฝันของคนอยากมีบ้าน หลายคนที่กำลังมองหาบ้านเป็นของตัวเองสักหลัง อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการกู้ซื้อบ้าน การคำนวณค่าใช้จ่าย อยากทราบวิธีการคำนวณแบบง่าย ๆ สาระอสังหา นำวิธีการ คำนวณผ่อนบ้าน แชร์ให้ทราบ เพื่อทดลองคำนวณค่าใช้จ่ายต่อเดือน รายละเอียดข้อมูลที่นำมาคำนวณ และหลักเกณฑ์พิจารณาภาระหนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทราบภาระค่าใช้จ่ายในอนาคต และนำไปประเมินตัวเราว่าสามารถผ่อนชำระจำนวนดังกล่าวได้หรือไม่
วิธีคำนวณผ่อนบ้าน คำนวณสินเชื่อบ้านง่าย ๆ ประเมินศักยภาพก่อนกู้
ข้อมูล 3 ส่วนที่ต้องทำความเข้าใจก่อนใช้คำนวณ ได้แก่
1.รายได้ตามเกณฑ์ธนาคาร แยกประเภทรายได้ออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1.1รายได้ที่เท่ากันทุกเดือน เช่น ฐานเงินเดือน ค่าตำแหน่ง ค่าโทรศัพท์ ค่าเดินทาง ค่าใบประกอบวิชาชีพ ทางธนาคารจะคำนวณให้เต็มจำนวน สามารถนำมารวมกันได้เลย ยกตัวอย่างอาชีพพนักงานเอกชน ฐานเงินเดือน 15,000 บาท ค่าเดินทาง 5,000 บาท รายได้รวมคือ 20,000 บาท
1.2รายได้ที่ไม่เท่ากันทุกเดือน เช่น การรับค่าคอมมิชชั่นในกลุ่มอาชีพเซลล์ ค่าล่วงเวลา (OT) กลุ่มพนักงงานทั่วไป ค่า Service Charge ของพนักงานโรงแรม หรือค่าเข้าเวรของพยาบาล เป็นต้น ซึ่งธนาคารจะทำการเฉลี่ยรายได้ 6 เดือน และพิจารณาให้เพียงแค่ครึ่งเดียว ยกตัวอย่างพนักงานขายที่มีฐานเงินเดือน 15,000 บาท ค่าเดินทาง 5,000 บาท ค่าคอมมิชชั่นย้อนหลัง 6 เดือน 2,200, 1,500, 2,000, 2,500, 4,300 และ 1,200 วิธีคำนวณ คือ 2,200 + 1,500 + 2,000 + 2,500 + 4,300 + 1,200 / 6 (เดือน) / 2 = 1,141.67 บาท ดังนั้น รายได้รวมคือ 15,000 + 5,000 + 1,141.67 = 16,641.67 บาท
1.3โบนัส หรือ รายได้พิเศษ ซึ่งธนาคารแต่ละแห่งใช้วิธีการคำนวณที่ไม่เหมือนกัน แต่โดยเฉลี่ยมักนำเงินเดือนทั้ง 12 เดือน มาเฉลี่ยและคำนวณให้ครึ่งเดียว ยกตัวอย่างพนักงานแอดมิน ที่มีฐานเงินเดือน 15,000 บาท ได้รับโบนัส 1.5 เท่าของรายได้ (22,500 บาท) ได้เท่ากับ (22,500/12) / 2 = 937.5 บาท ดังนั้น รายได้รวมคือ 15,000 + 937.5 = 15,937.5 บาท
2.อัตราหนี้สินต่อรายได้ % (DTI) หลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยธนาคาร คือ อัตราส่วนที่ธนาคารยอมให้ลูกค้าแต่ละรายมีหนี้สินต่อรายได้คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปัจจุบันธนาคารส่วนใหญ่จะคิด DIT 60% ของรายได้ เช่น มีรายได้ 15,000 x 60% = 9,000 บาท
3.ภาระหนี้สิน แยกของหนี้ได้ 3 ประเภท ได้แก่
3.1 หนีที่จ่ายเท่ากันทุกเดือน (Term Loan) เช่น ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน หรือบัตรเครดิต 0% 10 เดือน
3.2 หนี้ในสลิปต์ จ่ายเท่ากันทุกเดือน เช่น หนี้สวัสดิการ หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์/ครู/เงินฝาก กยศ.
3.3 หนี้บัตรกดเงินสดหรือหนี้บัตรเครดิต คิดภาระหนี้ 10% จากยอดใช้
ยอดผ่อนต่อวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ผ่อน 30 ปี อยู่ที่ 6,000 บาท
ปกติหากเรายื่นขอสินเชื่อระยะยาว 30 ปี ยอดผ่อนเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 บาท ต่อวงเงิน 1,000,000 ล้านบาท
ตารางคำนวณผ่อนบ้านธนาคารกรุงศรี (1 ม.ค. 65 – 30 เม.ย. 65)
ที่มา : สินเชื่อบ้านกรุงศรี
ตัวอย่าง ยอดผ่อนวงเงินต้น 2,000,000 บาท ผ่อนระยะยาว 30 ปี ดังนั้น ผู้กู้ต้องชำระให้กับธนาคารจำนวน 10,000 บาทต่อเดือน
ตัวอย่างการคำนวณผ่อนบ้าน กรณีประกอบอาชีพพนักงานประจำ
ตัวอย่างการคำนวณผ่อนบ้าน กรณีประกอบอาชีพเซลล์
เมื่อได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณผ่อนบ้านข้างต้นไปแล้ว หลายคนอาจเกิดความเข้าใจมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เกณฑ์การพิจารณาของแต่ละธนาคารก็อาจมีความแตกต่างกันออกไป เพื่อความถูกต้อง มั่นใจ อาจต้องปรึกษากับทางธนาคารโดยตรง แต่หากเราได้เรียนรู้และทำความเข้าใจในการคำนวณสินเชื่อด้วยตัวเอง ก็ถือเป็นวิธีที่พอจะประเมินศักยภาพของตัวเองเบื้องต้น เพื่อทราบว่า ณ ปัจจุบันสามารถขอสินเชื่อบ้านได้วงเงินเท่าไหร่ หรือนายหน้าท่านไหนที่พาลูกค้าเยี่ยมชมดูบ้าน ก็ช่วยในการตอบคำถามลูกค้าได้ง่ายขึ้นว่าสามารถขอสินเชื่อบ้านได้หรือไม่