top

การเงิน-การลงทุน

การเงิน-การลงทุน การกู้ร่วมคืออะไร มีเกณฑ์และคุณสมบัติยังไง ใครสามารถกู้ร่วมได้บ้าง?
การกู้ร่วมปี 2022 มีอะไรต้องรู้ หลักเกณฑ์ ข้อระมัดระวังเรื่องไหน

การเลือกซื้อบ้านหนึ่งหลัง เป็นการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแบบถาวรด้วยความสมัครใจ ซึ่งต้องผ่านการไตร่ตรองอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยที่ต้องสอดคล้องกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว ฟังก์ชันบ้านที่ตรงใจ และผังบ้านทันสมัยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ จะเห็นว่าความพึงพอใจของแต่ละครอบครัวนั้นแตกต่างกันออกไป แต่เมื่อไหร่ที่บ้านราคาสูงการกู้เดี่ยวด้วยตัวเองอาจเป็นภาระที่หนักหน่วงเกินไป จึงเกิดการกู้ที่ทางธนาคารออกสินเชื่อมาเพื่อเป็นทางเลือกให้คนอยากมีบ้าน “การกู้ร่วม” ที่ถือเป็นการแบ่งเบาภาระได้มาก ซึ่งรายละเอียดของการกู้ร่วมนั้นจะมีอะไร เราสามารถกู้ร่วมกับใครได้บ้าง สาระอสังหาอัปเดตปี 2022

การกู้ร่วมคืออะไร

การกู้ร่วม คือ การยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารพร้อม ๆ กัน หรือขอสินเชื่อร่วมกัน (กับอีกบุคคลหนึ่ง) โดยทางธนาคารจะขอเอกสาร หลักฐานทางการเงิน ข้อมูลส่วนตัวของผู้กู้และผู้กู้ร่วม ซึ่งสินเชื่อของธนาคารส่วนนี้จะเป็นทางเลือกให้ผู้กู้ที่ไม่สามารถยื่นกู้ด้วย Statement ของตนเองผู้เดียวได้ ซึ่งเป็นผลมาจากหลาย ๆ ปัจจัยที่ธนาคารใช้ในการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรายได้ที่ประเมินว่าไม่เพียงพอเพื่อการผ่อนชำระ มีภาระค่าใช้จ่าย (หนี้สิน) มากเกินไป ดังนั้น การกู้ร่วมจึงเป็นการกู้ที่เพิ่มบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเข้ามามีส่วนร่วมในการยื่นกู้ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของรายได้หรือการเพิ่มระยะเวลาในการกู้

ยกตัวอย่างเช่น เรามีรายได้เดือนละ 30,000 บาท ต้องการซื้อบ้านสำหรับครอบครัวใหญ่ในราคาที่สูงถึง 5,000,000 ล้านบาท ซึ่งการขอสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อบ้านกับธนาคาร ผ่อน 20 – 30 ปี ดอกเบี้ยประมาณ 7% (รวมผ่อนธนาคารเดือนละ 35,000 บาท) ซึ่งจะเห็นได้ว่าการกู้เดี่ยวในเรทเงินเดือนที่ไม่สอดคล้องกับราคาบ้าน แทบจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากเลยก็ว่าได้ ฉะนั้นการกู้ร่วมจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อกู้ซื้อบ้านของเรานั่นเอง

การกู้ร่วมสามารถทำร่วมกับใครได้บ้าง?

ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะกำหนดคุณสมบัติของผู้กู้ร่วมไว้ ดังนี้

  1. สามี – ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย (ต้องมีการจดทะเบียนสมรส)
  2. บิดา-มารดา-ลูก
  3. พี่-น้องสกุลเดียวกัน (ร่วมสายเลือด)

การกู้ร่วมสามารถทำร่วมกับใครได้บ้าง

หมายเหตุ : กรณีเครือญาติทางธนาคารอาจมีการขอเอกสารยืนยันหลักฐานเพิ่มเติมในการดูความสัมพันธ์ ซึ่งการกู้ร่วมเป็นทางเลือกที่มีประโยชน์อย่างมาสำหรับคนที่ต้องกู้ซื้อบ้าน แต่ก็ยังก็มีบางเรื่องที่ต้องระมัดระวังด้วยเช่นกัน

กรณีคู่รักต้องการกู้ร่วม จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสเท่านั้นใช่หรือไม่?

ปัจจุบันสามารถกู้ร่วมได้ไม่ว่าจะเป็นคู่รักที่จดทะเบียนสมรสร่วมกันหรือไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็สามารถทำได้ อาจเป็นได้ทั้งกรณีที่แต่งงานแต่ไม่ประสงค์จดทะเบียนก็สามารถระบุในคำขอสินเชื่อได้ว่าเป็นคู่สมรส (สถานภาพคือการสมรสไม่จดทะเบียน) ซึ่งในความเป็นจริงไม่ว่าผู้กู้ร่วมจะเป็นใคร โดยส่วนใหญ่คือมีวัตถุประสงค์ในการแชร์ร่วมกัน ทั้งในส่วนของรายได้ที่อาจกู้บ้านในราคาที่สูงขึ้น หรือคู่รักที่มีรายได้ที่ไม่เยอะมากแต่ต้องการให้คู่สมรสมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ (สามารถระบุให้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันได้)

ในกรณีที่แยกทางกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องตรวจสอบอีกด้วยว่าใครเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ถ้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม วิธีการที่จะสามารถแบ่งได้อาจต้องมีการขายทรัพย์และทำการชำระหนี้ธนาคาร (ทำการตกลงว่าทรัพย์เป็นของใคร) หรือหากขายไม่ได้ต้องมีการตกลงร่วมกันว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบทรัพย์สินที่ยังติดภาระหนี้อยู่กับธนาคาร (ขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกัน)

แล้วหากเป็นคู่รักร่วมเพศ LGBTQ+ สามารถกู้ซื้อบ้านร่วมกันได้หรือไม่?

ปัจจุบันเรื่องของเพศสภาพ การแสดงออกทางสังคมได้รับการยอมรับและมีการเปิดกว้างเรื่องสิทธิ์ของคู่รักร่วมเพศมากขึ้น (LGBT+) ดังนั้น คู่รัก LGBTQ จึงสามารถกู้ร่วมกันได้ ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคารอีกด้วย เพราะการใช้เอกสารยืนยันความสัมพันธ์ที่ไม่มีการจดทะเบียนก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใช้ในการยืนยันตัวตน

ปัจจุบันมีธนาคารที่เปิดกว้างเรื่องการให้คู่รัก LGBTQ กู้ร่วมกันได้หลัก ๆ ได้แก่

  1. ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
  2. ธนาคารกสิกรไทย (K-BANK)
  3. ธนาคารยูโอบี (UOB)

หมายเหตุ : ธนาคารแต่ละแห่งมีเงื่อนไข ข้อกำหนดและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป สามารถสอบถามและคุยกับเจ้าหน้าที่โดยตรงเพื่อสร้างความเข้าใจให้ทั้งผู้กู้และผู้ต้องการให้กู้ร่วม

เอกสารสำคัญเพื่อยื่นกู้ร่วมกับธนาคาร

การกู้ร่วม มีเอกสารสำคัญอะไรที่ต้องใช้

อยากกู้ร่วมมีข้อควรระวังเรื่องไหนที่ต้องทราบ?

1.ประเมินราคาทรัพย์ ถึงแม้ว่าการกู้ร่วมจะสามารถทำให้เรากู้ซื้อทรัพย์ในราคาที่สูงได้ (โดยการกู้ร่วม) แต่สุดท้ายต้องดูเรื่องของราคาทรัพย์ว่าสูงเกินความสามารถในการผ่อนชำระหรือไม่

2.ความเสี่ยงในหน้าที่การงาน เหตุการณ์ไม่คาดคิดหรือวิกฤตที่ทำให้รายได้ลดลง หากซื้อแล้วสภาพคล่องต่อเดือนของเราจะอยู่ในสภาวะแบบไหน (เงินที่ต้องจ่ายประจำทุกเดือน) ซึ่งต้องคำนึงถึงเรื่องการจ่ายเพื่อใช้ชีวิตในส่วนอื่น ๆ อีกด้วย

3.การพูดคุยและสร้างความเข้าใจให้ผู้กู้ร่วมเข้าใจถึงเงื่อนไขที่แท้จริง ซึ่งแน่นอนว่าการพูดอย่างตรงไปตรงมาการกู้ร่วมก็คือการเป็นหนี้ร่วมกัน (ร่วมกันเป็นหนี้คนละครึ่ง) ในเรื่องของดอกเบี้ยบ้านสำหรับใช้ลดหย่อนภาษีก็จะถูกนำมาคำนวณโดยการหารเฉลี่ย และเมื่อต้องการต่อเติมบ้าน-ขยายบ้านต้องได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่ายนั่นเอง

 

ตามที่ทราบทั้งสามข้อควรระวังในการกู้ร่วมไปแล้ว จะเห็นได้ว่าถึงการกู้ลักษณะนี้จะถือเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งสำหรับคนอยากมีบ้าน แต่อย่างไรก็ควรไตร่ตรองและพิจารณาร่วมกันให้ดีก่อนตัดสินใจกู้ร่วม เพราะบ้านหลังหนึ่งอาจสร้างหนี้สินให้เราไปอีกนาน การนำหลาย ๆ ปัจจัย รวมถึงค่าใช้จ่ายมาคำนวณก่อนก็เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง และนอกจากนี้ยังต้องดูเรื่องของบ้านว่าฟังก์ชัน วัสดุได้มาตรฐานสอดคล้องกับราคาบ้านหรือไม่

About author

เป็นนักการตลาดออนไลน์ เสพติดข่าวสาร กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจโลกและแวดวงอสังหาฯ เชื่อว่าเรื่องราวที่ได้รู้มีบทเรียนชีวิตแฝงอยู่ให้เราเสมอ

หมวดหมู่