แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงรู้ไว้ไม่เสียเปรียบ
แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงรู้ไว้ไม่เสียเปรียบ
ในวงการอสังหาฯ มีที่ดินหลากหลายแบบในหลากหลายพื้นที่ที่น่าสนใจต่อการลงทุน และสามารถสร้างเม็ดเงินกำไรให้กับผู้ถือครองได้ไม่น้อย โดยปกติแล้วเรามักคุ้นเคยกันว่าเมื่อเวลาผ่านไปที่ดินส่วนใหญ่จะมีมูลค่าสูงขึ้น แต่เชื่อไหมว่านอกจากที่ดินที่ให้มูลค่าสูงตามกาลเวลาแล้ว ยังมีที่ดินประเภทที่เมื่อถือครองแล้วมีโอกาสขาดทุนหรือได้กำไรเพียงน้อยนิด หนึ่งในนั้น คือ ‘แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูง’ วันนี้สาระอสังหาจะมาอธิบายถึงข้อห้ามต่าง ๆ ในพื้นที่แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูง รวมถึงสิ่งที่สามารถทำได้ในพื้นที่ดังกล่าว
เบื้องต้นเราต้องทำความเข้าใจถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ถูกเขียนไว้ในพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 ได้ประกาศไว้ดังนี้
1. ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอันตรายแก่ระบบไฟฟ้า เช่น ห้ามนำวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรกล เช่น รถเครน รถยก รถตัก รถขุด เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงน้อยกว่า 4 เมตร หรือ ห้ามเผาไร้อ้อย นาข้าว ป่าพง หรือวัสดุอื่นใดในเขตแนวเดินสายไฟฟ้า
2. ห้ามปลูกสร้างอาคาร บ้านเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้างอื่น ทุกชนิด ในเขตเดินสายไฟฟ้าดังต่อไปนี้
3. การสร้างขึ้นหรือทำขึ้นสิ่งอื่นใดนอกจากข้อที่ 2 รวมทั้งการกระทำได ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดินบริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟ อาทิ การปรับสภาพพื้นดินให้สูงขึ้น การขุดดิน การก่อสร้างถนน จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนัังสือจาก กฟผ. ก่อน การอนุญาตให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ กฟผ. กำหนด
4. ห้ามปลูกต้นไม้ หรือพืชผล ในเขตเดินสายไฟฟ้าตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 4.1 บริเวณพื้นที่ที่ตั้งเสา และพื้นที่โดยรอบโคนเสา ภายในระยะห่างจากแนวขาเสา 4 เมตร ห้ามปลูกต้นไม้ หรือพืชผล ทุกชนิด
4.2 ห้ามปลูกไม้ยืนต้นหรือพืชผลในเขตเดินสายไฟฟ้าในระยะกว้าง 6 เมตร เว้นแต่ไม้ล้มลุกและธัญชาติ (พืชจำพวกข้าว)
4.3 นอกบริเวณพื้นที่ตามข้อ 4.1 และ 4.2 ห้ามปลูกไม้ยืนต้นเว้นแต่ต้นไม้เศรษฐกิจสูงไม่เกิน 3 เมตร และไม้ล้มลุกและธัญชาติ
4.4 ในกรณีเขตสายส่ง 115 และ 132 กิโลโวลต์มีความกว้างแนวศูนย์กลางของเสาสายส่งไฟฟ้าด้านละ 12 เมตร อนุญาตต้นไม้เศรษฐกิจสูงไม่เกิน 7 เมตร และ 10 เมตร นอกเขต 20 เมตร
4.5 ในกรณีเขตสายส่ง 230 และ 300 กิโลโวลต์มีความกว้างแนวศูนย์กลางของเสาสายส่งไฟฟ้าด้านละ 20 เมตร อนุญาตต้นไม้เศรษฐกิจสูงไม่เกิน 10 เมตร นอกเขต 20 เมตร
4.6 เขตสายส่ง 500 กิโลโวลต์ ห้ามปลูกอ้อย
5. กระทำการใดๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดิน บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า เช่น การปรับสภาพพื้นดินให้สูงขึ้น การขุดดิน การขุดบ่อ การก่อสร้างถนน จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรการ กฟผ. ก่อน หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หรือไม่ได้รับอนุญาต กฟผ. มีอำนาจรื้อถอน ทำลาย หรือตัดฟันตามสมควรแก่กรณีโดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทน
สำหรับผู้ที่มีที่ดินเสี่ยงต่อการเป็นพื้นที่วางเสาไฟฟ้าแรงสูงในอนาคต ก็ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้มีการจ่ายค่ารอนสิทธิแต่กรรมสิทธ์ยังคงเป็นของเจ้าของที่ดินอยู่และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนดังนี้
จากกฎข้อห้ามดังกล่าวนั้นทำให้พื้นที่แนวที่ดินใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพียงน้อยนิด ถึงแม้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีการจ่ายค่ารอนสิทธิแล้วก็ตาม แต่ก็มิอาจเทียบได้กับมูลค่าที่เสียโอกาสไปของที่ดินที่อาจมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นของพื้นที่แห่งนั้น ถึงกระนั้นที่ดินดังกล่าวก็ยังพอนำไปใช้ประโยชน์ได้อยู่บ้าง ถึงแม้จะทำได้เพียงสร้างเป็นลานจอดรถรวมถึงใช้ทำเกษตรกรรมหรือปล่อยพื้นที่ให้เช่าเพื่อทำเกษตรกรรม อย่างการทำนาข้าว ปลูกพืชล้มลุก และปลูกต้นไม้ที่มีความสูงไม่เกินเกณฑ์ในเขตพื้นตามระยะต่าง ๆ และถ้าหากทุกท่านชื่นชอบบทความแบบนี้ เว็บไซต์สาระอสังหายังมีบทความดี ๆ เกี่ยวกับที่ดินหรืออสังหาฯ อีกมากมายที่รอให้ท่านได้ค้นพบที่ สาระอสังหา