top

กฎหมาย

กฎหมาย สรุปกฎหมาย “สมรสเท่าเทียม” สิทธิประโยชน์คู่รักทุกเพศได้รับ
ย้อนไทม์ไลน์ “พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม” สิทธิความเสมอภาค การมีครอบครัวของคู่รักทุกเพศ

ว่าด้วยเรื่องกฎหมายความหวังคู่รักเพศทางเลือก “สมรสเท่าเทียม” สรุปครบสาระสำคัญ ความแตกต่างกันระหว่างพ.ร.บ.ฉบับเดิมและพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม การอ้างอิงกฎหมายว่าต้องเป็นเพศชายและหญิงเแบบเดิม ๆ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงพ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวและระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ทำไมไม่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตคู่รัก LGBTQ ได้อีกต่อไป ซึ่งต่อมาเมื่อวัน เวลา สังคม เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความสำคัญสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายมากขึ้น ทั้งเพื่อเป็นการเรียกร้องความเท่าเทียมและความเสมอภาคให้เกิดขึ้นตามยุคสมัย

พรบ.สมรสเท่าเทียม กับ พรบ.สมรสฉบับเดิม แตกต่างกันอย่างไร

1.พรบ.สมรสฉบับเดิม

  • การหมั้นจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ (ครบ 20 ปี สามารถหมั้นได้ด้วยตัวเอง) แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอายุไม่ถึง ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ปกครองของทั่งสองฝ่าย
  • ไม่สามารถหมั้นกับบุคลวิกลจริตหรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ บุพการี ผู้ที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  • จำเป็นต้องมีของหมั้นมอบให้กับฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีการสมรสกันจริง
  • สินสอดเป็นทรัพย์ที่ฝ่ายชายต้องมอบให้กับบิดามารดาฝ่ายหยิง หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการตอบแทนที่ยินยอมให้สมรสกัน
  • การสมรสต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจจากทั้งสองฝ่าย
  • ฝ่ายหญิงที่สามีเสียชีวิต หากต้องการสมรสใหม่สามารถทำได้ แต่ต้องรอให้สิ้นสุดการสมรสไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมไม่สามารถสมรสกันได้

2.พรบ.สมรสเท่าเทียม

  • ไม่กำหนดเพศผู้ที่สมรสหรือหมั้นว่าต้องเป็นเพศตรงข้ามเท่านั้น
  • ไม่ได้กำหนดสินหมั้นและสินสอด (ไม่ได้เป็นหน้าที่ของฝ่ายชายฝ่ายเดียว)
  • ปรับอายุขั้นต่ำในการสมรสจาก 17 ปี เป็น 18 ปีบริบูรณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
  • คู่สมรสมีสิทธิในสินสมรส ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตามสามารถรับมรดกและสวัสดิการคู่สมรสได้
  • สามารถรับบุตรบุญธรรมโดยไม่กำหนดเพศ

5 เหตุผลที่ต้องดันพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมขึ้นมาแทนฉบับเดิม

  1. ไม่ทันต่อสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน
  2. เพื่อรองรับสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวสำหรับกลุ่มคนทุกเพศ (โดยไม่กำหนดเพศสภาพ)
  3. ลบชุดความคิดฝ่ายชายเป็นใหญ่ มีอำนาจเหนือกว่า แต่ต้องเปลี่ยนให้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีความเท่าเทียมกัน
  4. ปัญหาคู่ชีวิตเสียชีวิตลง แต่ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่สามารถรับมรดกของคู่รักได้
  5. การรับบุตรบุญธรรม สามารถสร้างครอบครัวได้โดยไม่จำกัดเพศสภาพ

สรุปไทม์ไลน์ “พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม” กฎหมายความหวังคู่รักเพศทางเลือก LGBTQ

พรบ.สมรสเท่าเทียม

ตัวอย่างสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการที่ ‘คู่สมรส’ ทุกเพศจะได้รับ

กฎหมายข้อนี้ช่วยให้คู่สมรสทุกเพศมีโอกาสเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ด้านต่าง ๆ

  • สิทธิการทำประโยชน์แทนผู้สืบสันดาน
  • สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ
  • สิทธิการลดหย่อนภาษีบุตรบุญธรรม
  • สิทธิในการใช้นามสกุล
  • สิทธิในการเซ็นยินยอมในการรักษาพยาบาล
  • สิทธิในการจัดการศพ
  • สิทธิในการกู้เงินซื้อบ้านและทำประกันชีวิตร่วมกัน
  • สิทธิในการขอวีซ่าสำหรับเดินทาง
  • สิทธิในการกู้ซื้อบ้าน การกู้ร่วมกัน

 

โครงสร้างของสังคมไทยที่มีลักษณะปิตาธิปไตยหรือผู้ชายเป็นใหญ่ ไม่ได้มีความเท่าเทียมมาตั้งแต่ต้น หากมีหนึ่งเหตุการณ์ที่มากระทบกับโครงสร้าง ความพยายามให้ทุกเพศมีสิทธิเท่าเทียมกัน จึงไม่แปลกที่จะกระทบความกลัวภายในจิตใจของกลุ่มคนบางกลุ่ม แต่หากต่อสู้ร่วมกันจนสามารถแก้กฎหมายข้อนี้ได้ทุกคนก็จะมีสิทธิเท่าเทียมกัน จนกระทั่งวันที่ 15 มิ.ย. 2565 พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เข้าพิจารณาในสภาอีกครั้ง และผ่านวาระแรกด้วยคะแนน 210+2 ต่อ 180 เป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของคนกลุ่มหลากหลายทางเพศ (Pride Month) แต่อย่างไรต้องติดตามกันต่อไปในชั้น กมธ. วาระที่สอง สาม และชั้น สว.

หมวดหมู่