top

กฎหมาย

กฎหมาย ภาษีเงินได้นิติบุคคล คืออะไร มีวิธีคำนวณและข้อควรรู้อะไรบ้าง
ภาษีเบื้องต้น “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” ใครมีหน้าที่เสียภาษี พร้อมบอกวิธีคำนวณอย่างง่าย

เรื่องภาษีอาจมองว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่หากลองปรับความเข้าใจใหม่และใช้ความพยายามในการเรียนรู้ก็จะส่งผลดีต่อตัวเองอย่างแน่นอน เพราะเรื่องภาษีเป็นหนึ่งเรื่องที่หนีไม่ได้และยังคงต้องใช้อยู่ในชีวิตประจำวันเสมอ การได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีที่เกี่ยวข้องและต้องพบเจอบ่อย ๆ ถือเป็นการสร้างพื้นฐานกิจนิสัย ความรอบคอบ ความละเอียดให้กับตัวเอง และเพื่อใครก็ตามที่วางแผนเปิดธุรกิจเองได้รู้พื้นฐานของภาษี เพราะภาษีเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

ภาษีเงินได้นิติบุคคลหมายถึงภาษีลักษณะใด ใครมีหน้าที่ต้องจ่ายภาษี?

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากนิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งปกติจะเก็บจากฐานกำไรสุทธิ นั่นหมายถึงเมื่อไหร่ก็ตามที่นิติบุคคลมีรายได้มาก เท่ากับการเสียภาษีมากให้สอดคล้องตามจำนวนรายรับ

ใครคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
  2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
  3. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร
  4. กิจการร่วมค้า (เป็นการหารายได้ร่วมกันระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล)
  5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการที่มีรายได้
  6. นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

องค์กรหรือนิติบุคคลใดได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี?

  1. องค์การของรัฐบาล
  2. รัฐบาลต่างประเทศ
  3. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น ๆ
  4. มูลนิธิ หรือสมาคมที่ตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายไทย
  5. สหกรณ์
  6. สภากาชาดไทย
  7. วัด
  8. นิติบุคคลอื่น ๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม

ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล

  1. ฐานกำไรสุทธิ
  2. ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
  3. เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศ
  4. การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

ซึ่งวิธีที่คนส่วนใหญ่พบเจอหรือให้ความสนใจกันมาก นั่นคือ การคำนวณจากฐานกำไรสุทธิ ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี คือ นิติบุคคลที่เป็นไปตามกฎหมาย (บริษัท ห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ ที่เข้ามาจดทะเบียนในประเทศไทย) เสียภาษีจากกำไรสุทธิของนิติบุคคล โดยการเสียจะมีการเปิดให้ยื่นสองครั้ง ภาษีครึ่งปี และภาษีเต็มปี

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ฐานกำไรสุทธิ)

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายหรือขอคืน

 

วิธีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

กำไรสุทธิ เกิดจากรายได้ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี หักลบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระหว่างปี จึงได้กำไรบัญชี ซึ่งกำไรบัญชีส่วนนี้จะไม่ใช่ตัวเลขที่นำมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (กำไรบัญชีต้องทำการปรับปรุงให้เป็นในส่วนของกำไรภาษีเสียก่อน)

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมยกตัวอย่างการคำนวณ

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไปจะอยู่ที่ 20% ของกำไรตั้งแต่บาทแรก แต่หากเป็นอัตราพิเศษสำหรับธุรกิจ SME จะได้รับสิทธิประโยชน์เมื่อมีทุนชำระ (ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิด 5 ล้านบาทในวันสุดท้ายของรอบบัญชีและมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30 ล้านบาท)

 

 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

ตัวอย่างที่ 1 กรณีขาดทุน

รายได้ทั้งปีที่ได้ดำเนินการกิจการมาเป็นระยะเวลา 1 ปี อยู่ที่ 1,000,000 บาท แต่มีค่าใช้จ่ายในระหว่างการดำเนินงานอยู่ที่ 1,200,000 บาท ซึ่งถูกหักภาษีระหว่างปี 100,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ SME หรือกิจการอื่น ๆ ทำให้ผลขาดทุน ณ สิ้นงวดปัญชี จะไม่มีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่สามารถขอคืนภาษีได้จากก้อนที่ถูกหักไปล่วงหน้า 100,000 บาท นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 2 กรณีมีกำไรสุทธิระหว่างปีไม่เกิด 300,000 บาท

รายได้ทั้งปีที่ได้ดำเนินการกิจการมาเป็นระยะเวลา 1 ปี อยู่ที่ 1,000,000 บาท แต่มีค่าใช้จ่ายในระหว่างการดำเนินงานอยู่ที่ 800,000 บาท ระหว่างปีถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปล่วงหน้า 100,000 บาท

  • สำหรับธุรกิจ SME เท่ากับว่าได้กำไรอยู่ที่ 200,000 บาท เนื่องจากถูกยกเว้นกำไรสุทธิก้อนแรก 300,000 บาท ดังนั้นกิจการ SME จะไม่มีการเสียภาษี อีกทั้งยังสามารถขอคืนภาษีที่ถูกหักไปล่วงหน้าระหว่างปี 100,000 บาทได้
  • สำหรับธรุกิจ มหาชน เท่ากับว่าได้กำไรอยู่ที่ 200,000 บาท ต้องเสียภาษีให้กรมสรรพากร 200,000 x 20% = 40,000 บาท แต่เนื่องจากการถูกหักไว้ล่วงหน้าระหว่างปี 100,000 บาท ดังนั้นจะสามารถขอคืนภาษีได้อีก 100,000 – 40,000 = 60,000 บาท

ตัวอย่างที่ 3 กรณีมีกำไรสุทธิระหว่างปี มากกว่า 300,000 บาท

รายได้ทั้งปีที่ได้ดำเนินการกิจการมาเป็นระยะเวลา 1 ปี อยู่ที่ 1,000,000 บาท แต่มีค่าใช้จ่ายในระหว่างการดำเนินงานอยู่ที่ 200,000 บาท ซึ่งถูกหักภาษีระหว่างปี 100,000 บาท

  • สำหรับธุรกิจ SME เท่ากับว่าได้กำไรอยู่ที่ 800,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษี 300,000 บาทแรก) ดังนั้นมีภาษีที่ต้องจ่ายอยู่ที่ 500,000 x 15% = 75,000 บาท (500,000 ได้จากกำไร 800,000 – 300,000 ที่ได้รับการยกเว้น) จะสามารถขอคืนภาษีจากส่วนต่างที่ถูกหักล่วงหน้าได้จำนวน 100,000 – 75,000 = 25,000 บาท
  • สำหรับธรุกิจ มหาชน เท่ากับว่าได้กำไรอยู่ที่ 800,000 บาท ต้องเสียภาษี 800,000 x 20% = 160,000 บาท แต่มีการเสียภาษีระหว่างปีไปแล้ว 100,000 บาท เท่ากับชำระเพิ่มที่จำนวน 160,000 – 100,000 = 60,000 บาท

 

สำหรับตัวอย่างการคำนวณอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแบบคร่าว ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือหจก. แน่นอนว่าต้องพบเจอกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจาก 3 กรณีตัวอย่างที่ สาระอสังหา ได้ยกตัวอย่างไป ถือเป็นความรู้เรื่องการคำนวณแบบพื้นฐานสำหรับผู้คิดทำธุรกิจหรือมือใหม่ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรกไดีดีเลยทีเดียว

 

About author

เป็นนักการตลาดออนไลน์ เสพติดข่าวสาร กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจโลกและแวดวงอสังหาฯ เชื่อว่าเรื่องราวที่ได้รู้มีบทเรียนชีวิตแฝงอยู่ให้เราเสมอ

หมวดหมู่