ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร คิดอัตราเท่าไหร่ คำนวณอย่างไร ไขคำตอบที่นี่
มือใหม่เข้าใจเรื่องภาษี วันนี้สาระอสังหานำหัวข้อที่น่าสนใจมาอธิบายและสร้างความเข้าใจให้ผู้เสียภาษีมือใหม่หรือว่าที่เจ้าของกิจการได้ทราบถึงการหักภาษี ณ ที่จ่าย เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้อย่างไร พร้อมตอบข้อสงสัยในหมวด Q&A จากคำถามที่เชื่อว่าหลายคนยังเกิดความสับสน พร้อมเช็กอัตราภาษีที่พบเจอบ่อย ใช้บ่อย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ?
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถือเป็นส่วนหนึ่งของภาษีเงินได้ ซึ่งวิธีการคำนวณภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายหรือขอคืนนั้นมาจาก ภาษีเงินได้ปลายปี (ภาษีทั้งปี) หักลบกับภาษี 2 ตัว ได้แก่ 1.ภาษีครึ่งปี (นิติบุคคลครึ่งปี/บุคคลธรรมดาครึ่งปี) 2.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทำให้ทราบว่าปลายปีเราจะได้รับภาษีคืนหรือต้องจ่ายเพิ่มเท่าไหร่
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีไว้เพื่อนำส่งเงินล่วงหน้าให้กับภาครัฐ เพื่อให้ภาครัฐได้ใช้เงินส่วนนี้หมุนเวียนเข้าคลังบริหารประเทศ โดยกฎหมายกำหนดว่าผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี เพื่อให้กรมสรรพากรได้ทราบว่าเราได้ทำการยื่นและเสียภาษีตามสมควรแล้ว ซึ่งสรุปหน้าที่ของภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ นำส่งเงินให้กับทางภาครัฐและหักภาษีไว้ เพื่อให้รัฐกลับมาตรวจสอบได้นั่นเอง
องค์ประกอบของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
องค์ประกอบของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ ผู้จ่ายเงิน เงินที่ถูกจ่ายไป และผู้รับเงิน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายมีหน้าที่เป็นผู้หักภาษี ส่วนผู้ที่รับเงินมีหน้าที่เก็บหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายของผู้จ่ายเงินไว้เป็นหลักฐานการยื่นภาษีปลายปี ส่งผลให้การขอคืนภาษีหรือตรวจสอบภาษีได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่าง เมื่อเริ่มมีรายได้ (ถูกหักภาษีไว้) สิ่งที่ต้องทำลำดับต่อไปคือ
1. ขอเอกสารการหักภาษี ณ ที่จ่าย (หนังสือรับรอง)
2.นำรายได้ที่ถูกหักภาษีมายื่นภาษีให้ครบ ยกเว้นเงินได้ที่มีการเสียภาษีไปแล้ว (Final Tax) เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย
Q&A ให้ภาษีเป็นเรื่องง่าย ตอบทุกข้อสงสัยและประเด็นที่น่าสนใจ
Q : ผู้ที่ได้รับเงินภาษีที่เราจ่ายให้ มีหน้าที่เสียภาษีเช่นกันหรือไม่?
A : หากผู้ที่เราจ่ายภาษีเงินได้ให้ไป ไม่ได้มีหน้าที่เสียภาษีก็ไม่จำเป็นต้องหัก เช่น บริจาคเงินให้วัด
Q : ใครมีหน้าที่เสียภาษีบ้าง?
A : บุคคลธรรมดา, นิติบุคคล, ห้างหุ้นส่วนสามัญ, บริษัท ห้างหุ้นส่วน, คณะบุคคล, มูลนิธิ สมาคม, คนที่มีหน้าที่เสียภาษีระบุตามประมวลรัษฎากร ดังนั้นทุกครั้งที่จ่ายไป ต้องทราบก่อนว่าจ่ายให้ใคร
Q : เงินได้ที่จ่ายออกไป เป็นเงินได้ประเภทไหนตามกฎหมาย แล้วเงินได้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท?
A : เงินได้แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่ (1)เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน (2)เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ (3)ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เป็นเงินรายปีจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น (4)ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร (5)เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น (6)เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (7)เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ (8)เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร โดยทั้งหมดนี้จะมีการหักภาษีที่แตกต่างกันไป
Q : หักภาษี ณ ที่จ่าย คำนวณอย่างไร?
A : ยกตัวอย่างเช่น ร้านค้า A จ่ายค่าเช่าอาคารให้กับเจ้าของตึก (บุคคลธรรมดา) จำนวน 15,000 บาท ดังนั้น ผู้รับมีสถานะเป็นบุคคลธรรมที่มีหน้าที่เสียภาษี แล้วค่าเช่าอาคารถือเป็นเงินได้ประเภทที่ (5) จากกฎหมายข้อมูลที่อธิบายไปข้างต้น เป็นการหักภาษีตามกฎหมาย ทป.4/2528 ข้อ 6 (1) กำหนดให้การจ่ายลักษณะนี้ ต้องหักในอัตรา 5% (750 บาท)
กล่าวคือ ร้านค้า A จะมีค่าใช้จ่ายจำนวน 10,000 (ค่าเช่าตึก) ส่วนเจ้าของตึกซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาก็มีรายได้ที่ 10,000 บาทจากการรับค่าเช่า ดังนั้นค่าใช้จ่ายของร้านค้าจะนับเป็นรายได้ของบุคคลธรรมดา 750 บาท (หักจาก 5% ตามที่กฎหมายกำหนด) ร้านค้ามีหน้าที่นำส่งสรรพากร และออกหนังสือรับรองให้กับเจ้าของตึก ซึ่งเจ้าของตึกเองต้องทราบว่าถูกหักภาษีเป็นจำนวน 750 บาท (ทำให้สรรพากรเข้าใจว่าเจ้าของตึกมีรายได้) แล้วจึงให้เจ้าของตึกเก็บหนังสือรับรองจากร้านค้าไว้ เพื่อรอครึ่งปีหรือปลายปีจึงนำข้อมูล ยื่นส่งกับกรมสรรพกรเป็นเงินได้ตามประเภทที่ 5
อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย พบเจอบ่อย – ใช้บ่อย (ประเทศไทย)
ตามที่ได้ยกตัวอย่างการคำนวณไปจะเห็นได้ว่าหลักการของการหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากหรือซับซ้อนนัก เพียงตัวเราต้องทราบก่อนว่าบทบาทหรือมุมมองของตนเองเป็นผู้รับเงินหรือผู้จ่ายเงิน ที่สำคัญต้องไม่ลืมเก็บหลักฐาน และนำส่งยื่นภาษีให้ถูกต้องกับประเภทเงิน สามารถอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติมที่ ภาษีซื้อ ภาษีขาย ใบ 50 ทวิ