top

กฎหมาย

กฎหมาย ภาษีสรรพสามิตคือะไร จัดเก็บจากสินค้าและบริการประเภทใด ใครต้องจ่าย?
ความเกี่ยวข้องภาษีสรรพสามิตกับผู้ประกอบการยุคใหม่-ขายสินค้าเปิดธุรกิจใดต้องจ่ายภาษี

เรื่องภาษีเป็นหนึ่งในเรื่องที่น่าปวดหัวสำหรับใครหลายคน เพราะภาษีในชีวิตประจำวันมีหลายประเภทที่ต้องเจอ แต่อย่างไรหน้าที่ประชาชนคนไทยในฐานะผู้ทำธุรกิจก็ย่อมต้องเสียภาษีให้ถูกต้อง เพื่อทางรัฐบาลสามารถนำเงินส่วนนี้กลับมาหมุนเพื่อบริหาร และพัฒนาประเทศ ว่าแต่ภาษีสรรพสามิตคือการเสียภาษีของธุรกิจในลักษณะไหน ค้าขายสินค้าแบบใดที่ต้องเสียภาษีบ้าง พร้อมช่องทางชำระภาษีที่ถูกต้อง

ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) คืออะไร

ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) คือ ภาษีทางอ้อมชนิดชนิดหนึ่งที่จัดเก็บจากสินค้า และบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ – ศีลธรรมอันดี สินค้า และบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐบาล สินค้าที่ก่อให้เกิดภาระของรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อจะให้บริการผู้บริโภค สินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

ใครมีหน้าที่เสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 และ พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527

ใครมีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต

 

  • ผู้ประกอบกิจการ สถานบริการ ผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจได้มองเห็นโอกาสทำกำไรด้วยบริการดังนี้ ได้แก่ สถานบันเทิง, สถานบริการที่มีอาหาร สุรา น้ำชา เครื่องดื่มอื่น ๆ, สถานบริการสปา อาบ นวด อบตัว เป็นต้น
  • ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เจ้าของธุรกิจได้มองเห็นโอกาสในการทำกำไรด้วยวิธีการผลิตสินค้าชนิดใหม่เสนอขายในตลาด กระบวนการผลิตใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า แสวงหาเงินทุน รวบรวมปัจจัยในการผลิต และการบริหารเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์
  • ผู้นำเข้า ผู้ประกอบธุรกิจด้านการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศ และเป็นผู้รับผิดชอบในการชำระภาษี ต้องขอแจ้งชำระภาษีอากรต่อกรมศุลกากรภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่โอน หรือนำไปใช้ประโยชน์ในการอื่น
  • ผู้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ผู้ดัดแปลงรถยนต์

หมายเหตุ : อัตราการเสียภาษีให้เสียภาษีตามมูลค่า หรือตามปริมาณ หรือทั้งตามมูลค่าและปริมาณ

สรรพสามิตเก็บภาษีสินค้า และบริการลักษณะใด?

สรรพสามิตเก็บภาษีจากสินค้าและบริการ

 

  • สินค้าและบริการที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ศีลธรรมอันดี เช่น บุหรี่ สุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • สินค้าและบริการที่มีลักษณะฟุ่มเฟือย เช่น ไวน์ สุราต่างประเทศ น้ำหอม เครื่องสำอาง กระเป๋าหนัง เข็มขัด เป็นต้น
  • สินค้าและบริการ ที่ได้รับประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของภาครัฐ
  • สินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ยานพาหนะต่าง ๆ

สินค้าและบริการที่ต้องจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ปี พ.ศ. 2560 ดังนี้

  1. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
  2. เครื่องดื่ม
  3. เครื่องใช้ไฟฟ้า (เฉพาะเครื่องปรับอากาศ และโคมระย้าที่ทำจากแก้วเลดคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่น ๆ)
  4. แบตเตอรี่
  5. แก้วคริสตัล และเครื่องแก้วอื่น ๆ
  6. รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
  7. รถจักรยานยนต์
  8. เรือยอชต์ และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
  9. น้ำหอม หัวน้ำหอม และน้ำมันหอม
  10. พรม และสิ่งทอปูพื้นขนสัตว์
  11. หินอ่อน และหินแกรนิต (ยกเว้นภาษี)
  12. กิจการโทรคมนาคม และสลากกินแบ่งรับบาล (ยกเว้นภาษี)
  13. สถานบริการ สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ
  14. สถานอาบน้ำ หรืออบตัว
  15. สถานบันเทิงไนต์คลับ และดิสโก้เธค
  16. สุรา
  17. ยาสูบ
  18. ไพ่

ภาษีที่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี

  1. การยกเว้น – การคืนภาษี กรรีส่งออกนอกราชอาณาจักร (ม.100)
  2. กรณีเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ (ม.104) เช่น เครื่องดื่ม
  3. ของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามภาค 4 กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร (ม.99)
  4. กรณีบริจาค (ม.102) เป็นการสาธารณกุศล ผ่านส่วนราชการ องค์การสาธารณสุข (ยกเว้นน้ำมัน)
  5. กรณีจำหน่ายแก่ผู้ได้รับเอกสิทธิ์ (ม.102)
  6. น้ำมันเติมอากาศยาน หรือขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ไปต่างประเทศ (ม.102)
  7. กรณีใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต หรือใช้ในอุตสาหกรรม (ม.103) เช่น โซลเว้นท์
    – สินค้านำเข้าที่ส่งกลับออกไป (ม.105)
    – สินค้าส่งออก กรณีผลิตด้วยสินค้านำเข้าที่เสียภาษีแล้ว (ม.106) เช่น แก้วเลดคริสตัล
    – กรณีเสียภาษีโดยไม่มีหนาที่ต้องเสีย หรือเสียเกิว่าที่ควรเสีย (ม.107)

สถานที่ยื่นแบบรายการภาษี และชำระภาษีสรรพสามิต

  1. กรณีโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานบริการในเขตกรุงเทพฯ ยื่น ณ กรมสรรพสามิต
  2. กรณีโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานบริการอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ยื่น ณ สำนักงานกรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตอำเภอในพื้นที่ตั้งอยู่
  3. กรณีที่มีโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานบริการหลายแห่ง ยื่นคำร้องต่ออธิบดีขอยื่นรวม ณ กรรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิต แห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่ออธิบดีเห็นสมควรจะอนุญาตให้
  4. กรณีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ยื่นกรมศุลกากร หรือด่านศุลกากร หรือที่ซึ่งกรมศุลกากรกำหนดให้มีการผ่านพิธีศุลกากร สำหรับสินค้านำเข้า

เบี้ยปรับ และการอัตราการเพิ่มเงินเมื่อชำระภาษีสรรพสามิตล่าช้า?

  1. กรณีไม่ได้ยื่นแบบรายการภาษีภายในกำหนดระยะเวลา ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนสรรพสามิตหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษี
  2. กรณียื่นแบบภาษีไว้แล้ว แต่เกิดข้อผิดพลาด ข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียขาดไป เสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภภาษีที่เสียขาดไป

สรรพสามิตนำเงินภาษีที่เรียกเก็บใช้ในด้านไหน?

  1. การทำนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ ด้านการสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนภายในประเทศ เช่น โครงการเรียนฟรี 15 ปี
  2. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สนับสนุนให้เกิดการขยายตัว และพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การลดภาษีนิติบุคคลให้เหลือ 10% เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุน พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมการค้าไปในตัว
  3. พัฒนาสถานบริการด้านสาธาณสุขให้คลอบคลุม ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
  4. พัฒนาบริหารประเทศเพื่อให้ชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น (ด้านสังคมสงเคราะห์)

สถิติรายได้กรมสรรพสามิตรวมทุกประเภท ปี พ.ศ. 2565

สถิติรายได้กรมสรรพสามิตรวมทุกประเภทปี65

โดยปกติต้องชำระภาษีสรรพสามิตก่อนนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือคลัง แต่ก็ยังสามารถขอขยายเวลาชำระภาษีได้ คือ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป จากเดือนที่นำสินค้าออกจากคลัง ผู้ประกอบการ นำเข้าสินค้า สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.excise.go.th ติดต่อสายด่วนของหน่วยงาน 1713 และสามารถติดตามบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับภาษีน่ารู้ ที่นี่

About author

เป็นนักการตลาดออนไลน์ เสพติดข่าวสาร กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจโลกและแวดวงอสังหาฯ เชื่อว่าเรื่องราวที่ได้รู้มีบทเรียนชีวิตแฝงอยู่ให้เราเสมอ

หมวดหมู่