top

กฎหมาย

กฎหมาย น้ำท่วมที่จอดรถใต้คอนโด ‘นิติบุคคล’ กับ ‘เจ้าของรถ’ ใครต้องรับผิดชอบ?
น้ำท่วมที่จอดรถใต้คอนโด ใครรับผิดชอบ

ตามข้อมูลฤดูกาลในประเทศไทย หน้าฝนจะอยู่ในช่วงกลางเดือน พ.ค. – ต.ค. ซึ่งปีพ.ศ. 2565 ประเทศไทยก็มีอุปสรรคในเรื่องของพายุอยู่หลายครั้งหลายครา และแน่นอนว่าผลที่ตามมาเมื่อฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานก็คือ น้ำท่วมขัง น้ำที่รอการระบายในหลาย ๆ พื้นที่ ซึ่งเหตุการณ์ที่กำลังเป็นที่น่าจับตาและประเด็นถกเถียงกันอยู่ในช่วงนี้เป็นเรื่อง “น้ำท่วมที่จอดรถใต้คอนโด” ลูกบ้านจอดรถอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยใต้คอนโด หากเกิดภัยทางธรรมชาติในลักษณะนี้ ได้รับความเสียหายระดับรุนแรงแบบนี้ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบรถยนต์ส่วนบุคคลที่ถูกน้ำท่วมจนมิดหลังคา นิติบุคคลต้องดำเนินการอย่างไร

“น้ำท่วมที่จอดรถใต้คอนโด” มีกฎหมายเข้ามารองรับผู้เสียหายหรือไม่?

ลำดับแรกไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่ใด ๆ หากรถยนต์ส่วนบุคคลมีการประกันชั้นหนึ่ง รถคันดังกล่าวจะได้รับสิทธิ์ในการคุ้มครองโดยทันที แต่หากเป็นประกันรถยนต์ชั้นสองหรือสามเป็นต้นไปต้องดูรายละเอียดการทำสัญญาควบคู่ไปด้วย ซึ่งส่วนนี้ก็ยังมีข้อกฎหมายที่ทางนิติบุคคลหรือคอนโดออกมารับผิดชอบในเหตุการณ์ดังกล่าว คือ เหตุระเมิดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

กฎหมายคุ้มครองกรณีน้ำท่วมที่จอดรถใต้คอนโด

สรุประหว่าง ‘นิติบุคคล’ กับ ‘เจ้าของรถยนต์’ ใครเป็นผู้รับผิดชอบ?

พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กฎหมายอาคาร มาตรา 33 วรรค 2 ก็เป็นอีกหนึ่งข้อกฎหมายที่มีเนื้อหาปกป้องสิทธิลูกบ้าน คือ หากรถยนต์ส่วนบุคคลจอดอยู่บริเวณพื้นที่ปลอดภัยหรือพื้นที่จอดรถใต้คอนโด จอดอยู่ในทรัพย์สินส่วนกลาง นิติบุคคลมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น กรณีที่รถยนต์จอดอยู่ในอาคาร/คอนโด ส่วนฝั่งทางนิติบุคคลต้องมีหลักฐานยืนยันว่าได้ทำตามหน้าที่ ดูแลทรัพย์สินอย่างสุดความสามารถแล้ว เป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถป้องกันได้ และต้องทำการตกลงกับเจ้าของรถว่าระหว่าง ‘นิติบุคคล’ กับ ‘เจ้าของรถยนต์’ ใครเป็นผู้รับผิดชอบในแง่มุมตามกฎหมาย รวมถึงขั้นตอนการฟ้องร้องกันต่อไป (นิติบุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นลำดับแรก)

 

จากเหตุน้ำท่วมในหลาย ๆ พื้นที่ “น้ำท่วมที่จอดรถใต้คอนโด” ก็ได้มีข้อกฎหมายข้างต้น ที่สามารถนำมาพิจารณาได้ เนื่องจากที่จอดรถคอนโดมีเนียมจัดเป็นทรัพย์ส่วนกลางที่ลูกบ้านสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ (พื้นที่ปลอดภัย) นิติบุคคลมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบและดูแล ดังนั้น หากเกิดกรณีที่สร้างความเสียหายกับรถ เจ้าของรถยนต์คันอื่น ๆ ที่นำมาจอดไว้ในที่จอดรถส่วนกลาง ร่วมกันพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ว่า นิติบุคคลที่มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลางนั้น ได้ดูแลทรัพย์สินอย่างสุดความสามารถหรือไม่ ทั้งที่จอดรถ ทางระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำให้มีสภาพพร้อมใช้งาน หากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายทั้งหมดเกิดจากความประมาทของนิติ นิติบุคคลก็ต้องรับผิดต่อความเสียหายนั้น

About author

เป็นนักการตลาดออนไลน์ เสพติดข่าวสาร กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจโลกและแวดวงอสังหาฯ เชื่อว่าเรื่องราวที่ได้รู้มีบทเรียนชีวิตแฝงอยู่ให้เราเสมอ

หมวดหมู่