การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย ถือเป็นเรื่องที่ดำเนินการไม่ยุ่งยาก ขั้นตอนง่าย ทั้งการเดินทางไปจดทะเบียนที่สำนักงานเขต หรือการจดทะเบียน ณ วันแต่งงานทีเดียวก็สามารถทำได้ โดยส่วนใหญ่คนไทยมักจดทะเบียนหลังการแต่งงาน เพราะมีเรื่องความเชื่อ วัน เวลา ฤกษ์ ที่เหมาะสม
ในปัจจุบันพบบ่อยกับกรณีที่สามี ภรรยา แต่งงานและอยู่กินร่วมกัน แต่ยังไม่จดทะเบียนสมรส อาจจะรอปรับตัวหรือบ้างก็ให้เหตุผลถึงการผูกมัด สาระอสังหา นำข้อดี – ข้อเสียของการจดทะเบียนสมรสอธิบายและให้แง่คิดเผื่อการตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิต
การทะเบียนสมรส คืออะไร ?
การจดทะเบียนสมรส สามารถตีความหมายได้ว่า เป็นการตัดสินใจที่บ่งบอกถึงความมั่นใจ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่มีทะเบียนสมรส นั่นหมายถึงการผูกมัดระหว่างกันทางกฎหมายอย่างสมบูรณ์ ตามจุดประสงค์ของกฎหมายที่ต้องคุ้มครองคู่สามี ภรรยา ดูแลผลปรโยชน์อย่างชอบธรรมในกรณที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้น
ข้อดี – ข้อเสียของการจดทะเบียนสมรส
1.สิทธิทางกฎหมาย “บุคคลอันหนึ่งอันเดียวกัน” เช่น สิทธิ์การใช้นามสกุลของสามี สิทธิ์การรับมรดกเมื่อคู่ชีวิตจากไป หรือในกรณีนอกใจกันเกิดขึ้นสามารถฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้ (หน่วงงานราชการมีโทษผิดสูงสุดเชิญออกจากราชการ) สามารถเรียกร้องค่าเสียหายแทนกันและกันได้
2.ทรัพย์สิน รายได้ที่เกิดขึ้นหลังจากการจดทะเบียนสมรสเรียกว่า “สินสมรส” รวมถึงดอกเบี้ยต่าง ๆ ในทางกลับกันที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอยู่กินร่วมกัน ฉันสามีภรรยา ก็ยังมีสิทธิ์ในทรัพย์สินครึ่งหนึ่ง (อีกฝ่ายต้องให้การยินยอม)
3.การทำนิติกรรมต่าง ๆ ต้องได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่าย เช่น การซื้อ – ขายที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ รวมถึงทรัพย์สินต่าง ๆ ส่วนในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนก็สามารถทำเอกสารส่วนตัวได้ไม่ต้องรอการยินยอมจากใคร
4.หนี้สิน หนี้สินส่วนตัวจะยังถูกกำหนดให้เป็นหนี้สินส่วนบุคคล และหนี้สินที่เกิดขึ้นหลังจากจดทะเบียนสมรสกันแล้วจะถือเป็นหนี้สินที่ทั้งสามี – ภรรยาต้องรับผิดชอบร่วมกัน
5.กรณีที่มีลูก ลูกจะถือเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย กลับกันหากไม่ได้จดทะเบียนสมรส “ลูก” จะถือเป็นบุตรจากทางฝ่ายภรรยาเท่านั้น และเมื่อเลิกรากันไป ฝ่ายหญิงเองก็ไม่สามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงดูจากฝ่ายชายได้ ยกเว้นฝ่ายชายเองเป็นผู้จดรับรองการเป็นบุตร
6.การลดหย่อยภาษี สามารถลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนบิดา – มราดาของคู่สมรส ลดหย่อนประกันชีวิตของคู่สมรส ลดหย่อนประกันสุขภาพ ลดหย่อนบุตร มีสิทธิ์ที่สามีภรรยาจะแยกกันยื่นภาษีรายปี หรือรวมกันยื่น ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการภาษีของครอบครัว
7.กรมธรรม์ประกันชีวิต เงินคืนรายงวดเงินปันผลต่าง ๆ ถือเป็นสินสมรสเช่นกัน ยกเว้นกรณีที่พ่อหรือแม่ได้ทำประกันชีวิต โดยมีชื่อตัวเราเป็นผู้รับสิทธิ์ เงินชดเชยที่ได้ถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัว
คุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนสมรส
1.ชาย – หญิง อายุ 20 ปี / อายุ 17 ปี ต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ปกตรอง / อายุต่ำกว่า 17 ปี ต้องได้รับการอนุญาตจากศาล
2.หญิงที่ต้องการสมรสใหม่ ต้องรอผ่าน 310 วัน เว้นแต่สมรสกับคู่สมรสเดิม คลอดบุตรแล้ว มีคำสั่งจากศาล หรือมีใบรับรองจากแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
3.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถ
4.ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
5.พ่อหรือแม่ และบุตรบุญธรรม
6.พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดามารดา
เอกสารที่ต้องใช้
1.บัตรประชาชน (หรือบัตรที่ราชการออกให้) ในกรณีที่เป็นชาวต่างชาติต้องมีหนังสือเเดินทางและแบบฟอร์มรับรองจากสถานทูตหรือกงสุล
2.หลักฐานการหย่า (ถ้ามี) สูติบัติและทะเบียนบ้านบุตร (ถ้ามี)
3.ในกรณีที่คู่สมรสคนก่อนเสียชีวิต ต้องแสดงหลักฐานการตายหรือใบมรณะบัตร
4.สมุดทะเบียนบ้านตัวจริง
5.พยาน 2 คน (พร้อมบัตรประชาชน) มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
6.แบบฟอร์ม “คร.1” ขอได้ที่สำนักงานทะเบียน
ตัวอย่างใบสำคัญการสมรส
วัน เวลา สถานที่ และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสมรส
ไม่ว่าจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่จดทะเบียนสมรส ทั้งกระบวนการที่มีเพียงกระดาษ 1 แผ่น แต่กลับมีผลบังคับทางกฎหมาย และข้อประโยชน์มากมาย การเป็นครอบครัวหรือคู่ชีวิตขึ้นอยู่กับการปรับตัว การใช้ชีวิต การพูดคุย ความซื่อสัตย์ถึงจะมีชีวิตคู่ที่มีความสุขได้ ดังนั้น จะเห็นว่าเพียงการจดทะเบียนไม่ได้ทำให้การใช้ชีวิตยุ่งยากจนเกินไป แต่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจระหว่างครอบครัว