top

กฎหมาย

กฎหมาย ขอคืนภาษีแต่ยังไม่ได้รับเงิน วิธีตรวจสอบคืนภาษีง่าย ๆ จากกรมสรรพากร
ตรวจสอบคืนภาษี - การรับเงิน พร้อมวิธีอัปโหลดเอกสารเพิ่ม

ไม่ว่าจะภาษีซื้อ ภาษีขาย หรือภาษีเงินได้ เมื่อได้ลดหย่อยภาษีประจำปีกันไปแล้ว หลายคนก็เกิดข้อสงสัยว่าทำไมยังไม่ได้รับเงินคืนหรือมีขั้นตอนไหนที่นำส่งข้อมูลผิดพลาดไป สาระอสังหา มีขั้นตอนการตรวจสอบคืนภาษี ผ่านหน้าเว็บไซต์กรรมสรรพากร เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบว่าขั้นตอนการคืนภาษีติดว่าปัญหาส่วนไหนหรือต้องแนบไฟล์เอกสารเพิ่มเพื่อให้ทางสรรพากรพื้นที่ตรวจสอบหรือไม่

ก่อนอื่นสิ่งที่เราต้องศึกษาและทำความเข้าใจในฐานะผู้เสียภาษี คือ เราทุกคนมีสิทธิได้รับภาษีคืน เมื่อไหร่ก็ตามที่บริษัทหักภาษี ณ ที่จ่ายของพนักงานประจำมากกว่าภาษีที่ต้องจ่ายจริง (กรณีอาชีพอิสระก็เช่นเดียวกัน) ซึ่งวิธีการขอคืนภาษีสามารถทำได้โดยง่ายผ่านหน้าเว็บไซต์กรมสรรพากร แต่อย่างไรก็ตามเราควรศึกษาการคำนวณภาษีก่อน เพื่อทราบว่าตนเองมีสิทธิอยู่ในเกณฑ์ได้รับภาษีคืนหรือไม่ โดยการใช้สูตรคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ ดังนี้

 

สูตรคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ

ขั้นตอนตรวจสอบคืนภาษีผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร

การยื่นภาษีประจำปี ไม่ว่าจะผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน ระบบอินเทอร์เน็ตหรือแบบเอกสาร อย่างไรก็ตาม ตัวเราควรติดตามกระบวนการและขั้นตอนการยื่นภาษีว่าดำเนินการถึงขั้นตอนไหน มีเอกสารที่เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรต้องการให้เรายื่นเพิ่มเติมหรือไม่ ทั้งนี้เราสามารถเข้าไปตรวจสอบคืนภาษีผ่านหน้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้ (ระบบบริการสอบถามคืนภาษี) แต่ในกรณีที่ยื่นแบบฯ กระดาษ จะเริ่มตรวจสอบได้ภายหลัง 1 วันทำการ เพื่อตรวจสอบว่าได้รับการพิจารณาแล้วหรือยัง โดยการระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อ-สกุล และเลือกปีภาษี (ปี พ.ศ. ปัจจุบัน ลบ 1) หลังจากนั้นระบบจะทำการแสดงผลสถานะการคืนเงินภาษีของเราให้ทราบว่าอยู่ในขั้นตอนไหน

1.เข้าสู่เว็บไซต์ กรมสรรพกร

2.เลือกเมนู ‘สอบถามการคืนภาษี’

3.พบหน้าจอ E-Refund เป็นบริการสอบถามข้อมูลการขอคืนภาษี ภ.ง.ด.90 / ภ.ง.ด.91

4.เลือกปีภาษี กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และชื่อ-สกุล (ไม่พิมพ์คำนำหน้า)

5.คลิกปุ่ม ‘สอบถาม’

หมายเหตุ : หลังจากนั้นจะถูกนำส่งข้อมูลต่อไปให้ระบบประมวลผล ส่งต่อให้เจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจสอบว่าต้องการตรวจเอกสารเพิ่มเติมหรือไม่ หลังจากนั้นจะนำไปสู่กระบวนการ นำเข้าข้อมูล > พิจารณาคืนภาษี > ส่งคืนภาษี > ได้รับคืนภาษี

 

บริการสอบถาม ตรวจสอบคืนภาษีภาพหน้าเว็บไซต์ตรวจสอบคืนภาษี จากกรมสรรพากร ที่มา : กรมสรรพากร

 

สถานการณ์ยื่นภาษีในแต่ละขั้นตอน

  1. ยื่นแบบภาษี คือ สถานะยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำเร็จ
  2. นำเข้าข้อมูล คือ การนำข้อมูลเข้าระบบเพื่อตรวจสอบ
  3. พิจารณาคืนภาษี คือ กำลังตรวจสอบเพื่อขอเอกสารเพิ่มเติมหรือส่งข้อมูลต่อให้สรรพากรพื้นที่ (ยังไม่ได้เงินคืน)
  4. ส่งคืนภาษี คือ ได้รับการคืนภาษี (หากผูกพร้อมเพย์ ได้รับคืน 3-5 วันทำการ)
  5. ได้รับคืนภาษี คือ ได้รับเงินคืน

หมายเหตุ : หากต้องการได้รับคืนภาษีอย่างไว สามารถสมัครพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชนได้

ในกรณีที่กรมสรรพากรแจ้งให้นำส่งเอกสารเพิ่มเติม ต้องทำอย่างไร

  1. เลือกเมนู ‘นำส่งเอกสารประกอบพิจารณาคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา’
  2. อัปโหลดเอกสาร (กรณีที่สรรพากรยังไม่เรียกเอกสารเพิ่มก็สามารถอัปโหลดได้)
    ส่วนใหญ่ใช้ไฟล์ที่เป็นรูปภาพ ได้ทั้ง JPG, PNG, BMP, TTF และ PDF (ไม่ควรตั้งรหัสผ่าน) โดยขนาดไฟล์รวมกันทั้งหมดไม่เกิน 20 MB ต่อครั้ง แต่สามารถส่งได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งควรตั้งชื่อไฟล์ด้วยรายการที่กรมสรรพากรขอ หรือ รายการที่เราต้องการนำส่ง ประกอบกับการแยกประเภทไฟล์ให้เป็นประเภทเงินได้ หรือ ประเภทลดหย่อนภาษี ซึ่งจะช่วยให้การตรวจสอบเป็นไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
  3. เลือกเมนู ‘อัปโหลดเอกสาร’
    ส่วนนี้คือทั้งหมดของการตรวจสอบคืนภาษี ส่วนการสมัครพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อขอคืนเงินนั้น หากทำไม่ทันหรือระแบบแจ้งคืนมาก่อน จะส่งผลให้ยอดเงินคืนจากภาษีไม่เข้าพร้อมเพย์ ซึ่งโดยปกติแล้วสามารถขอรับเงินคืนได้ 3 ช่องทาง คือ การนำเข้าระบบพร้อมเพย์ในภายหลัง ส่งเข้าบัญชีเงินฝาก (ธนาคารกรุงไทย / ธกส.) และการคืนด้วยบัตรเงินสด e-Money ธนาคารกรุงไทย ก็สามารถเลือกได้ตามความสะดวกนั่นเอง

 

สุดท้ายนี้ในกรณีผู้ที่ไม่สะดวกดำเนินการเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำแทนได้ ซึ่งเมื่อขอคืนภาษีไป จำนวนเงินจะเข้าที่บัญชีผู้ขอคืนเท่านั้น และในกลุ่มคนที่เป็นชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่สามารถผูกบัญชีกับพร้อมเพย์ได้ ก็สามารถขอคืนภาษีแบบเช็คเพื่อเข้าบัญชีธนาคารที่มีชื่อตรงกันได้เช่นกัน

About author

เป็นนักการตลาดออนไลน์ เสพติดข่าวสาร กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจโลกและแวดวงอสังหาฯ เชื่อว่าเรื่องราวที่ได้รู้มีบทเรียนชีวิตแฝงอยู่ให้เราเสมอ

หมวดหมู่