top

กฎหมาย

กฎหมาย ขายฝาก คืออะไร อ่านเงื่อนไขและข้อกำหนดก่อนทำสัญญา
ขายฝากคืออะไร

ในกรณีที่ต้องการใช้เงินด่วน แต่ไม่อยากนำทรัพย์ไปขายขาด สำหรับใครที่มีที่ดิน บ้าน “การขายฝาก” เป็นทางเลือกที่ดี วิธีนี้สามารถทำได้ง่าย ไม่ตรวจเครดิตบูโร แต่ภายใต้การกู้ง่าย ๆ ได้เงินไวแบบนี้ ยังมีนายทุนที่แสวงหาทางเข้าถือครองที่ดินของเราโดยอาศัยช่องโหว่หรือจุดอ่อนของความไม่รู้ ขาดความรู้เกี่ยวกับสิทธิเจ้าของทรัพย์ ดังนั้น การทำสัญญาขายฝากที่ดิน สัญญาฝากขายบ้าน หรือสัญญาฝากขายอื่น ๆ ควรทราบข้อกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในแง่ของกฎหมาย สิทธิ์การใช้ประโยชน์บนทรัพย์และผู้รับซื้อ พร้อมวิธีไถ่ถอนคืน

ขายฝากคืออะไร

การขายฝาก หมายถึง การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์ โดยที่กรรมสิทธิ์จะเปลี่ยนจากผู้ฝากขายไปเป็นของผู้ซื้อ (ผู้ซื้อฝาก) โดยทันที แต่ยังมีข้อตกลงกันในรูปแบบการทำสัญญาว่าจะไถ่ถอนทรัพย์คืนภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งทรัพย์สินที่สามารถขายฝากได้ มีทั้งการฝากขายบ้าน ฝากขายที่ดิน นาฬิกา เรือกลไฟ เรือกำปั่นที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป เรือนแพที่มีคนอยู่อาศัย สัตว์พาหนะ ช้าง ม้า กระบือ โค เป็นต้น

หมายเหตุ : ทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ต้องทำหนังสือให้ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากเซ็นลายมือยินยอมรับข้อตกลงร่วมกัน อาจรวมถึงการวางเงินมัดจำ การชำหนี้ เพื่อเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องศาลในกรณีผิดสัญญา

สาระสำคัญของการทำสัญญาขายฝาก

  1. การทำสัญญาขายฝาก กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อทันที โดยทั้งฝ่ายผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากสามารถกำหนดข้อตกลงร่วมกัน ว่าจะไถ่คืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
  2. ต้องทำการตกลงร่วมกันก่อนหรือขณะทำสัญญา ข้อตกลงที่เกิดขึ้นภายหลังถือเป็นเพียงคำมั่นว่าจะขายคืน
  3. ทรัพย์สินทุกชนิดสามารถฝากขายได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน รถยนต์ นาฬิกา
  4. การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ประเภทใด จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถึงจะถือว่าสมบูรณ์
  5. การขายฝากที่ดินต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ทรัพย์ประเภทบ้านต้องจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนเขตนั้น ๆ
  6. หากไม่ทำหนังสือหรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะถือว่าการขายฝากจะเสียเปล่าและฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
  7. หากผู้ซื้อฝากฝ่าฝืนข้อตกลง จะต้องรับผิดชอบและชดใช้ความเสียหายแก่ผู้ขายฝาก

สาระสำคัญเกี่ยวกับสิทธิในการไถ่ถอนทรัพย์คืน

  1. กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์จะมีระยะเวลาในการไก่คืนไม่เกิน 10 ปี (มาตรา 494)
  2. กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์จะมีระยะเวลาในการไก่คืนไม่เกิน 3 ปี (มาตรา 494)
  3. ไม่สามารถไถ่คืนทรัพย์สินคืนได้หากครบกำหนดระยะเวลา
  4. มาตรา 496 สามารถทำสัญญาขยายเวลาไถ่คืนได้ แต่ระยะเวลารวมต้องไม่เกินมาตรา 494
  5. สัญญาขยายเวลาในการไถ่ถอนทรัพย์คืนต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าพนักงาน

ข้อควรทราบเกี่ยวกับสัญญาขายฝาก

ข้อควรรู้สัญญาขายฝาก

รูปแบบ “สัญญาขายฝาก” พร้อมดาวน์โหลดฟรี

สัญญาขายฝาก

ตัวอย่างสัญญาขายฝากจากกรมที่ดิน คลิก

ดาวน์โหลดสัญญาขายฝาก คลิก

 

จากข้อมูลข้างต้น อาจทำให้หลาย ๆ คนทราบสาระสำคัญของ ‘สัญญาขายฝาก’ และการไถ่ถอนทรัพย์จากการขายฝาก ซึ่งนอกจากการเปลี่ยนทรัพย์ให้เป็นเงินรูปแบบที่ยังมีโอกาสไถ่คืนเช่นวิธีนี้ แล้วยังมีการจำนองที่สามารถนำทรัพย์ค้ำประกันได้ แต่ไม่ว่าจะด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนหรือรับเงินมาด้วยลักษณะใด สิ่งที่ควรตระหนักให้มาก คือ การทำสัญญา ยิ่งเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ขายฝากหรือผู้ซื้อฝากก็ควรทำเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง

หมวดหมู่