top

กฎหมาย

กฎหมาย กฎหมาย EIA คืออะไร สำคัญกับผู้พัฒนาอสังหาฯ อย่างไร

ข่าวการสั่งทบทวนหรือรื้อถอนโครงการอสังหาริมทรัพย์ คอนโดฯ ห้องพัก หรือที่อยู่อาศัยรูปแบบอื่นที่มีความสูงเกินกฎหมายกำหนดถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เพราะว่า EIA เป็นหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบเรื่องของผลกระทบจากการก่อสร้างทั้งด้านอากาศ ทัศนียภาพ น้ำ และอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ สำหรับผู้คิดทำธุรกิจใหญ่หรือกลุ่มผู้พัฒนา (Developer) อ่านกฎหมาย EIA และการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่นี่

กฎหมาย EIA คืออะไร เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์อย่างไร

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Ipact Assessment ย่อ EIA) หมายถึง การประเมินผลกระทบโครงการพัฒนาที่มีผลต่อสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ รวมถึงความเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ ซึ่งเป็นเหตุให้นำไปสู่ภัยพิบัติหรือกระทบต่อสิ่งแวดล้อมร้ายแรง

EIA ศึกษาและวิเคราะห์เรื่องอะไรบ้าง

การจัดทำ EIA ประกอบด้วยการศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน คือ

  1. ทรัพยากรทางกายภาพ เป็นการศึกษาผลกระทบหลังก่อสร้างโครงการต่าง ๆ โครงการแนวราบ อาคารชุด โรงไฟฟ้า โครงการสร้างเขื่อน ฯลฯ เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
  2. ทรัพยากรชีวภาพ การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่มีต่อระบบนิเวศ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น
  3. คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการศึกษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งกายภาพ และชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน
  4. คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต จะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ ชุมชน สังคม ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงทัศนียภาพ คุณค่า และความสวยงาม

 

กฎหมายEIA-โครงการขนาดใหญ่กระทบแหล่งชุมชนตึกข้างเคียงอย่างไร?

โครงการก่อสร้างที่ต้องยื่นขอ EIA มีอะไรบ้าง

  • อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป หรือตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  • โครงการจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไป หรือมีเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่
  • โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศที่มี 80 ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  • อาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีจำนวนชุดหรือห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป

 

กฎหมายEIA-ตรวจสอบชื่อโครงการและสถานะการพิจารณา

ตรวจสอบชื่อโครงการและสถานะการพิจารณาและรายละเอียดอื่น ๆ คลิก

ผู้พัฒนาธุรกิจสังหาริมทรัพย์ / เจ้าของโครงการต้องเข้าใจกฎหมาย EIA อย่างไร

  1. ทำความเข้าใจถึงโครงการที่กำลังพัฒนาอยู่ว่าจำเป็นต้องจัดทำรายงานหรือไม่
  2. ว่าจ้างที่ปรึกษา ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคล ผู้มีสิทธิทำรายงาน
  3. ส่งรายงานให้สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พิจารณาไม่เกิน 75 วัน)
  4. หากมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม จำเป็นต้องปรับแก้และจัดส่งภายในระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน

การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ผู้มีสิทธิทำรายงาน EIA ต้องขึ้นทะเบียนได้รับอนุญาตจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มีขั้นตอนดังนี้

  1. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตทำรายการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ “คชก. ผู้มีสิทธิ” เพื่อให้รายงานมีคุณภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ
  2. ผู้มีสิทธิทำรายงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้พัฒนาโครงการต้องทำการศึกษา วิเคราะห์ ประเมินผลกระทบ ตลอดจนกำหนดมาตรการป้องกันหรือลดผละกระทบจากโครงการ
  3. เสนอเล่มรายงานต่อหน่วยงานอนุญาต และสผ. ซึ่งพิจารณาโดยคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารรารายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ “คชก. พิจารรารายงาน” ว่ามีความครบถ้วนและเป็นไปตามหลักวิชาการ
    – หากเห็นชอบสามารถก่อสร้าง หรือดำเนินการได้
    – หากไม่เห็นชอบต้องดำเนินการแก้ไข

หมายเหตุ : เมื่อพบว่าผู้ทำรายงานได้ดำเนินการหรือจัดทำรายงานที่ไม่มีคุณภาพ คชก.พิจารณาถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถร้องเรียนหรือแจ้งมายังสผ. เพื่อเข้าสู่กระบวนการโดย “คชก.ผู้มีสิทธิ”

มาตราการ “การกำกับดูแลที่กำหนด” และบทลงโทษ

  • บันทึกเป็นข้อมูลเพื่อประกอบขอรับใบรอบต่อไป
  • แจ้งกำชับ ตักเตือน
  • แจ้งพักใช้ใบอนุญาต
  • แจ้งเพิกถอนใบอนุญาต

 

ในกรณีที่เกิดการร้องเรียนขึ้นและตรวจสอบพบในภายหลังพบว่า EIA นั้นเป็นข้อมูลเท็จ ตั้งข้อพิจารณารับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้ร้องเรียน อาจทำให้ศาลปกครองพิพากษา EIA ฉบับนี้ไว้ (ชั่วคราว) จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่แท้จริง อาจมีผลถึงโครงการที่กำลังก่อสร้างอยู่ต้องหยุดชะงักไป เนื่องจากกฎหมาย EIA เปรียบเสมือนใบอนุญาตก่อสร้างอีกนัยหนึ่งเช่นกัน อย่างไรก็ควรศึกษากฎหมาย และข้อกำหนดโครงสร้างอาคารก่อนอย่างละเอียด

About author

เป็นนักการตลาดออนไลน์ เสพติดข่าวสาร กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจโลกและแวดวงอสังหาฯ เชื่อว่าเรื่องราวที่ได้รู้มีบทเรียนชีวิตแฝงอยู่ให้เราเสมอ

หมวดหมู่